รถตักพลังงานไฟฟ้าคันแรกในไทย! เทคโนโลยี 3 มอเตอร์ ไร้เกียร์ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม


รถตักพลังงานไฟฟ้าคันแรกในไทย! เทคโนโลยี 3 มอเตอร์ ไร้เกียร์ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รถตักพลังงานไฟฟ้า100% นวัตกรรมเอกสิทธิ์เฉพาะ เพิ่มอัตราเร่งทันทีไม่ต้องรอรอบ ใช้ 1 ปี = ปลูกต้นไม้ 8,333 ต้น


หนึ่งในเมกะเทรนด์ของปีนี้ คือการที่ทั่วโลกรณรงค์ให้ตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อม และใช้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีช่วยให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่โลกสีเขียว ในวงการอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลหนักก็เช่นเดียวกัน อย่างบริษัท XCMG ผู้ผลิตเครื่องจักรหนักระดับโลก ซึ่งได้คิดค้นนวัตกรรม "รถตักพลังงานไฟฟ้า" ที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สาเหตุของภาวะโลกร้อน

นายสิรภพ ตันติธรรม ผู้ดูแลแผนกสินค้า EV  บริษัท โอ.ซี.อาร์ จำกัด ผู้นำเข้าและผู้จำหน่ายรถตักล้อยางไฟฟ้า แบรนด์ XCMG หนึ่งเดียวในไทย เปิดเผยว่า แนวคิดเริ่มต้นมาตั้งแต่นโยบายของภาครัฐ ในระดับภูมิภาค และในระดับโลกที่ต้องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทาง XCMG บริษัทแม่ในประเทศจีน จึงตอบโจทย์ในจุดนี้ ด้วยการคิดค้นผลิตภัณฑ์ที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทุกส่วนของตัวรถจะถูกออกแบบด้วยโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ก่อนที่จะผลิตออกมาเป็นรูปร่างอย่างที่เห็น 

ส่วนเว้าส่วนโค้งต่าง ๆ มีที่มาจากการใช้งานจริงของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างด้านหน้าของตัวรถ ที่รองรับการทำงานมากที่สุด ซึ่งต้องแข็งแรงมากที่สุด หรือบุ๊งกี๋ ที่ถูกออกแบบมาให้รับน้ำหนักได้มากขึ้นเมื่อเทียบกับรถในลักษณะเดียวกัน สิ่งที่เป็นจุดเด่นของรถตักพลังงานไฟฟ้า คือ การนำนวัตกรรม 3 มอเตอร์ ไร้เกียร์มาใช้ โดยมอเตอร์ที่หนึ่งทำหน้าที่ขับเคลื่อนเพลาหน้า มอเตอร์ตัวที่สองมีหน้าที่ขับเคลื่อนเพลาหลัง และมอเตอร์สุดท้ายทำหน้าที่ขับเคลื่อนระบบไฮดรอลิก ทั้ง 3 มอเตอร์ทำงานสอดประสานกันโดยไม่มีเกียร์เข้ามาเกี่ยวข้อง ถือเป็นเอกสิทธิ์เฉพาะและนวัตกรรมใหม่ที่สุดในระดับโลก ที่ถูกนำมาใช้ในการพัฒนาเครื่องจักรหนัก ซึ่งนั่นทำให้รถตักพลังงานคันนี้สามารถเพิ่มอัตราเร่งได้ทันทีแบบไม่ต้องรอรอบเหมือนรถตักทั่วไป พร้อมทั้งลดการสั่นสะเทือนและเสียงรบกวนตามไปด้วย นอกจากนวัตกรรม 3 มอเตอร์ ไร้เกียร์แล้ว ยังมีเรื่องระบบ Automatic Recharge ที่จะมีการรีชาร์จเข้าไปในแบตเตอรีทุกครั้งที่มีการเหยียบเบรก รวมถึงมีระบบระบายความร้อนที่ถูกนำมาใช้ เพราะต้องการให้รถตักอยู่ในสภาวะพร้อมใช้งานอยู่เสมอ ไม่ว่าจะอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่มีอุณหภูมิต่ำหรือสูง และยังมีส่วนประกอบที่โดดเด่น เพราะมีทั้งแบตเตอรี CATL ที่ใช้แบบเดียวกับไอโฟน โค้ดแจ้งเตือนบนหน้าจอดิจิทัล หากเกิดความผิดปกติสามารถค้นหาประวัติการบำรุงรักษาทั้งหมดได้ รวมถึงตู้ชาร์จที่มีขนาดใหญ่ระดับท็อปของประเทศ ที่เป็นแบบ  Fast charging เริ่มต้นที่ 240 กิโลวัตต์ สามารถเพิ่มขึ้นไปเป็น 300 - 360 กิโลวัตต์ได้ตามการใช้งาน 
นายสิรภพ ระบุว่า จากการทดสอบหน้างานจริงในเมืองไทย การชาร์จแบตเตอรีจาก 25% - 99% จะใช้เวลาในการชาร์จประมาณ 55 นาที ส่วนอีก 1% ที่จะชาร์จได้เต็ม 100% เปรียบเหมือนการรินน้ำ โดยหากน้ำใกล้จะเต็มแก้วจะใช้เวลานาน ยิ่งแบตเตอรีขนาดใหญ่ก็ยิ่งใช้เวลานาน ส่วนมากจึงจะพูดถึงปริมาณการชาร์จที่ 99% ซึ่งสามารถใช้งานได้ทั่วไป ขณะที่การใช้งานจะอยู่ที่ประมาณ 10 ชั่วโมงด้านมลภาวะทางอากาศ รถตักใช้พลังงานไฟฟ้า 100% ทำให้ไม่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจกขึ้นไปบนอากาศ ซึ่งการใช้รถตักล้อยาง  1 ปี หรือ 3,000 ชั่วโมง เทียบเท่าได้กับการปลูกต้นไม้ 8,333 ต้นต่อปี 
นอกจากนี้ยังลดมลพิษทางเสียงลงเนื่องจากไม่มีเครื่องยนต์ อาจเรียกได้ว่าเป็นรถตักที่ทำงานได้เงียบที่สุดในตลาดตอนนี้ รวมถึงด้านความปลอดภัยของอุตสาหกรรมกลุ่มอุปโภคบริโภคในร้านอาหาร เช่น แป้ง มันสำปะหลัง เพราะรถตักนี้จะลดการรั่วซึมของน้ำมันลงไปได้มีความเหมือนเรื่องการชาร์จและการใช้ คล้ายกับอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไป และนวัตกรรมที่ใช้ขับเคลื่อนมีความใกล้เคียงกัน ส่วนความแตกต่างคือ รถตักพลังงานไฟฟ้าจะมีระบบไฮดรอลิกเข้ามาเกี่ยวข้อง เนื่องจากจุดประสงค์การใช้งานที่ต้องใช้พละกำลังในการยกสินค้าหรือสิ่งของ มีแบตเตอรีและตู้ชาร์จที่ขนาดใหญ่กว่ารถยนต์ EV ทั่วไป รวมถึงมีมอเตอร์จำนวนมากกว่าด้วย

คาดการณ์ว่ารถตักพลังงานไฟฟ้าจะถูกพัฒนาไปในทิศทางเดียวกับรถยนต์ EV ที่ระยะเวลาในการชาร์จจะสั้นลงแต่ใช้งานได้นานมากขึ้น รวมถึงจะมีการนำ AI ปัญญาประดิษฐ์เข้ามาช่วยในระบบไร้คนขับ และอีก 5-7 ปี ผลิตภัณฑ์เครื่องจักรหนักทุกชนิดจะถูกเปลี่ยนไปใช้ไฟฟ้าเข้ามาแทนที่ทั้งหมด โดยมีปัจจัยเรื่องราคาและการยอมรับเทคโนโลยีของผู้ใช้งานเป็นตัวกำหนด

ที่มา : https://www.tnnthailand.com/news/tech/109686/