• หน้าหลัก
  • รู้จักเรา
  • ERC Focus
  • Energy Trends
  • เชื้อเพลิงความรู้
  • ช่องทางติดต่อ

Energy Trends

  1. หน้าแรก
  2. Energy Trends

ใหญ่และหรู ! ต้นแบบเรือยอช์ตยักษ์ 40 เมตร แล่นฉิวแบบไร้มลพิษ

  • 22 พ.ค. 2565
  • 1889 view

ต้นแบบเรือยอช์ตยักษ์ที่ออกแบบให้ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ มาพร้อมการออกแบบเพื่อการใช้งานที่รองรับการจัดเลี้ยงขนาดใหญ่ได้อย่างสบาย ๆ

 

ทีมนักออกแบบจากประเทศไอร์แลนด์ และเนเธอร์แลนด์ นำเสนอต้นแบบเรือยอช์ตยักษ์ที่มีชื่อว่า โดมุส (domus) โดยเป็นเรือยอช์ตที่มีความยาวถึง 40 เมตร และมีขนาดเกือบ 750 ตันกรอส (gross tonnage) มาในคอนเซปต์การออกแบบ 'บ้านลอยน้ำ' โดยตั้งเป้าพัฒนาให้เป็นเรือยอช์ตยักษ์ลำแรกที่ใช้พลังงานสะอาด และปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาเรือสำหรับการเดินทางและความบันเทิงในโลกอนาคต

 

คำว่า โดมุส (domus) เป็นภาษาละตินโบราณ แปลว่าบ้าน โดยรูปแบบของเรือ เป็นการผสมผสานระหว่างความคิดสร้างสรรค์ของทีม Rob Doyle Design จากประเทศไอร์แลนด์ ที่รับหน้าที่ออกแบบในเรื่องของสถาปัตยกรรมตัวเรือ ประสิทธิภาพในการขับเคลื่อน และความเป็นไปได้ของโครงสร้างเรือ ในขณะที่ทีม Van Geest Design จากประเทศเนเธอร์แลนด์ จะดูแลเรื่องของสไตล์และการแบ่งพื้นที่ใช้สอยต่าง ๆ ออกมาเป็นผลงานเรือพลังงานสะอาดที่ให้ประสบการณ์เดินทางระดับสูง

 

ลักษณะภายนอกของเรือลำนี้ เป็นเรือยอช์ตยักษ์ที่ติดตั้งใบเรือขนาดใหญ่ทั้งสิ้น 2 ใบที่ออกแบบมาเป็นพิเศษให้สามารถลดแรงต้านได้ดี และทำให้แล่นได้เร็วกว่าเรือยอช์ตทั่วไป ส่วนภายใน มีพื้นที่ใช้สอยกว่า 8,500 ตารางฟุต หรือประมาณ 790 ตารางเมตร แบ่งออกเป็น 2 ชั้น มีห้องโดยสารที่กว้างขวางจำนวน 6 ห้อง รวมถึงโรงภาพยนตร์ ยิม ที่จอดรถยนต์ บาร์ และสระว่ายน้ำ และยังมีพื้นที่สปาเพื่อให้ได้ผ่อนคลายขณะเดินทาง

 

ด้านบนของเรือจะเป็นพื้นที่ติดตั้งโซลาร์เซลล์สำหรับการกักเก็บพลังงานเพื่อใช้ในการเดินเรือ นอกจากนี้ยังมีการผสมผสานระหว่างการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ร่วมกับพลังงานจากแบตเตอรี่ นอกจากนี้ยังมีการติดตั้งระบบเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน ให้ผลลัพธ์เป็นเรือที่สามารถเดินทางโดยไม่ปล่อยมลพิษ รวมถึงยังส่งเสียงรบกวนน้อยกว่าเรือทั่วไปอีกด้วย

 

สำหรับการออกแบบเรือลำนี้ ถือว่าเป็นอีกหนึ่งผลงานที่น่าสนใจของการพัฒนายานพาหนะเพื่อการคมนาคมทางน้ำ ที่ใส่ใจทั้งเรื่องการใช้สอย การมอบประสบการณ์ความบันเทิง แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่มองข้ามเรื่องของพลังงานสะอาดและการปล่อยมลพิษ อย่างไรก็ตามความคืบหน้าของการพัฒนาเรือลำนี้ ยังอยู่ในขั้นการออกแบบ และศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างเท่านั้น แต่ไม่แน่ว่าในอนาคตเราอาจจะได้เห็น โดมุส ออกมาให้บริการเพื่อยกระดับการคมนาคมทางน้ำเป็นได้

 

ที่มา : https://www.tnnthailand.com/news/tech/114416/

 





Read More

นักวิจัยเคมบริดจ์ใช้ สาหร่าย เป็นแหล่งพลังงานให้คอมพิวเตอร์

  • 16 พ.ค. 2565
  • 1775 view

นักวิจัยอังกฤษ ม.เคมบริดจ์ เผยผลการวิจัยที่ค้นพบว่าสาหร่ายเป็นแหล่งพลังงานให้กับคอมพิวเตอร์ได้อย่างต่อเนื่องนานนับปี

วันที่ 16 พฤษภาคม 2565 บีบีซี รายงานว่า นักวิจัยของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ของอังกฤษกล่าวว่า ระบบนี้คล้ายกับแบตเตอรี่ขนาด AA และมีสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินที่ไม่มีพิษชื่อว่า synechocystis ซึ่งสาหร่ายชนิดนี้สะสมพลังงานจากแสงอาทิตย์ผ่านกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง

นักวิจัยเชื่อว่าระบบนี้มีศักยภาพในการสร้างพลังงานที่มีความเสถียรและหมุนเวียนให้กับอุปกรณ์ขนาดเล็ก จึงเป็นระบบที่ทำได้ทั่วไป ไม่แพงและใช้วัตถุรีไซเคิลได้เป็นส่วนใหญ่

อีกทั้งทำซ้ำได้หลายแสนครั้งด้วยวิธีง่าย ๆ เพื่อเป็นแหล่งพลังงานให้กับอุปกรณ์ขนาดเล็กใน Internet of Things (IOT) หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อมโยงหรือส่งข้อมูลถึงกันได้ด้วยอินเทอร์เน็ต
ทำงานต่อเนื่อง

IOT เป็นเครือข่ายอุปกรณ์อิเล็กทอรนิกส์ที่ใหญ่มากและขยายใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ โดยใช้พลังงานน้อยมากจากการรวบรวมและแชร์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ผ่านอินเทอร์เน็ต เช่น สมาร์ทวอตช์

กระแสไฟฟ้าจากพืชเกิดจากการสังเคราะห์ด้วยแสงกับปฏิกิริยากับอิเล็กโทรดอะลูมิเนียมซึ่งเป็นแหล่งพลังงานให้หน่วยประมวลผล (ไมโครโปรเซสเซอร์)

คริสโตเฟอร์ ฮาว แห่งภาควิชาชีวเคมีของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์กล่าวว่า อุปกรณ์สังเคราะห์ด้วยแสงไม่ได้ขับเคลื่อนพลังงานเช่นเดียวกับแบตเตอรี่ เพราะใช้แสงเป็นแหล่งพลังงานอย่างต่อเนื่อง

ในการทดลองอุปกรณ์นี้ใช้เป็นแหล่งพลังงานให้กับ Arm Cortex M0+ ซึ่งเป็นไมโครโปรเซสเซอร์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอุปกรณ์ IOT

โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่างบริษัท Arm ออกแบบไมโครโปรเซสเซอร์กับคณะนักวิจัยมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์

เปาโล บอมเบลลี แห่งภาควิชาชีวเคมีของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์กล่าวว่า ประทับใจกับระบบการทำงานต่อเนื่องเป็นเวลานาน ทั้งที่คิดว่าอาจจะหยุดทำงานหลังจากผ่านไป 2-3 สัปดาห์ แต่ระบบก็ยังคงดำเนินต่อไป

ที่มา : https://www.prachachat.net/spinoff/science-technology/news-931918



Read More

ครั้งแรกของโลก ! ที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบพกพา

  • 15 พ.ค. 2565
  • 1317 view

ที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบพกพา ให้ผู้ใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าสามาถชาร์จแบตรถยนต์ไฟฟ้าได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ดีไซน์เรียบสบายตา ใช้งานง่าย

 

ZipCharge Go (ซิปชาร์จ โก) ที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบพกพา ไอเดียจากบริษัทสตาร์ตอัปสัญชาติอังกฤษ ออกแบบมาภายใต้แนวคิดเดียวกันกับพาวเวอร์แบงก์สำหรับโทรศัพท์มือถือที่ผู้ใช้งานสามารถชาร์จแบตได้ทุกที่แบบไร้กังวล ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน ที่ทำงาน หรือแม้แต่จุดพักรถ มีลักษณะคล้ายกระเป๋าเดินทางล้อลากขนาดเล็ก ดีไซน์เรียบสบายตา ใช้งานง่าย เพียงแค่เลือกสถานที่จอดรถ เสียบสายชาร์จเข้ากับพอร์ตชาร์จรถ สั่งการผ่านแอปพลิเคชัน หลังจากนั้นรอเพียง 30-60 นาที ขึ้นอยู่กับขนาดของแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า

 

ตัวเครื่องขนาดประมาณ 16 นิ้ว มีน้ำหนักประมาณ 22.6 กิโลกรัม มาพร้อมกับสายชาร์จไทป์ 2 (Type) สามารถให้ระยะทางสูงสุดได้ 20-40 ไมล์ หรือราว ๆ 32-64 กิโลเมตร ผู้ใช้งานสามารถตั้งค่าการชาร์จผ่านแอปพลิเคชัน โดยตัวแอปพลิเคชันสามารถคำนวณอัตราเวลาในการใช้งานของรถได้ เพื่อกำหนดระยะเวลาในการชาร์จ ช่วยประหยัดงบประมาณให้กับผู้ใช้งาน

 

ในปัจจุบันผู้คนจำนวนมากหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ากันเยอะขึ้นด้วยปัจจัยหลายอย่าง วิธีการชาร์จแบตรถยนต์ไฟฟ้ามีหลัก ๆ อยู่ 2 ทาง คือ ชาร์จกับสถานีชาร์จ และชาร์จที่บ้าน โดยการชาร์จกับสถานีชาร์จมีข้อเสีย เช่น รอคิวนาน จำนวนสถานีชาร์จไม่ครอบคลุมประชากรในพื้นที่ได้อย่างเพียงพอ เป็นต้น ในขณะที่การชาร์จที่บ้านมีข้อเสีย เช่น ใช้ต้นทุนในการติดตั้งแท่นชาร์จค่อนข้างสูง เป็นต้น ซึ่งบริษัทซิปชาร์จ ลิมิเต็ด (ZipCharge Limited) เองก็ได้เล็งเห็นถึงปัญหาในจุดนี้

 

แม้จะยังไม่มีการเปิดเผยราคาขาย แต่ทางบริษัทได้เปิดเผยว่าภายในปี 2022 นี้ จะมีการเปิดให้เช่าที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบพกพาเป็นรายเดือน โดยมีราคาอยู่ที่ 49 ปอนด์ หรือราว ๆ 2,200 บาท คล้าย ๆ กับบริการให้เช่าพาวเวอร์แบงก์สำหรับโทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก

 

ที่มา : https://www.tnnthailand.com/news/tech/113666/





Read More

Shine Turbine กังหันลมพกพา ชาร์จไฟมือถือด้วยพลังงานสะอาด

  • 7 พ.ค. 2565
  • 898 view

Shine Turbine กังหันลมขนาดพกพา ที่ช่วยให้เราสามารถพกใส่กระเป๋าและเดินทางไปยังที่ต่าง ๆ ได้

คงดีถ้าไปตั้งแคมป์แล้วยังมีไฟฟ้าใช้ แต่จะทำอย่างไรเมื่อไม่มีปลั๊กไฟให้เสียบ มีเพียงสายลม กระแสน้ำและแสงแดดเท่านั้น ที่จะใช้มันเพื่อสร้างพลังงานไฟฟ้าให้แก่ตัวเรา อย่างไรก็ตามกังหันลมกำลังค่อย ๆ กลายเป็นส่วนสำคัญของอุตสาหกรรมพลังงาน มันถูกนำมาใช้ในนานาประเทศ ปัญหาคือมันใหญ่เกินกว่าที่เราจะพกพาติดตัวไปไหนมาไหนได้

Shine Turbine คือกังหันลมขนาดพกพา ที่ช่วยให้เราสามารถพกใส่กระเป๋าและเดินทางไปยังที่ต่าง ๆ ได้ มันสามารถชาร์จไฟให้สมาร์ตโฟน แท็บเล็ต กล้อง หรือหลอดไฟเดินทางของเรา

    Shine Turbine ถูกพัฒนาโดยบริษัท Aurea ในแคนาดา ซึ่งก่อตั้งโดยผู้หญิง 2 คน ได้แก่ แคท อดาเลย์ (Cat Adalay) นักวิศวกรเครื่องกล และ ราเชล คาร์ (Rachel Carr) นักออกแบบ

    Shine Turbine คือกังหันลมแบบพกพา หรือจะเรียกว่าแบตเตอรี่พกพา ที่มีระบบชาร์จไฟด้วยลมจากการหมุนของกังหันลมก็ว่าได้

    อย่างไรก็ตามด้วยรูปลักษณ์ที่เป็นกังหัน ทำให้มันสามารถจัดเก็บและผลิตกระแสไฟฟ้าออกมาได้อย่างรวดเร็ว แม้เราจะอยู่ใจกลางสถานที่ที่มีอากาศรุนแรงหรือฝนที่กำลังตกอยู่ก็ตาม

    ตัวกังหันมีแบตเตอรี่ 5V (โวลต์) ขนาด 12,000mAh (มิลลิแอมป์) เป็นของตัวเอง

    ตัวกังหันสามารถผลิตไฟได้ 13.3 วัตต์ ส่งผ่านทางสาย USB โดยใช้เวลาประมาณ 20 นาทีเท่านั้นในการเติมพลังไฟให้กับโทรศัพท์ (3 เครื่องในเวลา 1 ชั่วโมง)
     
    กังหัน Shine Turbine มีน้ำหนักเพียง 3lbs (ปอนด์) และมีขนาดที่ไม่ใหญ่มาก สามารถใส่ในกระเป๋าเป้สะพายหลังได้

    ต้องใช้แรงลมความเร็ว 8 - 28 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือ 13 - 45 กิโลเมตรต่อชั่วโมงในการชาร์จไฟ

    ตัวกังหันกันน้ำกันฝนระดับ IP54 ใช้เวลาเพียง 2 นาทีเท่านั้นในการติดตั้ง (แค่เสียบขาตั้งก็สามารถใช้ได้เลย)

ลมคือผู้สร้างพลังงานสะอาดอันดับ 2 ของโลก แต่เป็นพลังที่เราหรือคนทั่วไปไม่สามารถเข้าถึงได้ง่าย ๆ ดังนั้น Shine Turbine จึงยอดเยี่ยมและตอบโจทย์เป็นอย่างมาก (แต่ก็แค่สำหรับอุปกรณ์เล็ก ๆ และสำหรับการท่องเที่ยวเท่านั้น)

ที่มา : https://www.tnnthailand.com/news/tech/113030/



Read More

แคลิฟอร์เนียหันมาใช้พลังงานสะอาดแบบ 100 เปอร์เซ็นต์

  • 4 พ.ค. 2565
  • 1695 view

แคลิฟอร์เนียหันมาใช้พลังงานสะอาดแบบ 100 เปอร์เซ็นต์ เป็นครั้งแรก รัฐแคลิฟอร์เนียสามารถผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนในธรรมชาติได้เพียงพอต่อความต้องการของประชากร

ผู้ดำเนินการระบบอิสระในแคลิฟอร์เนีย (California Independent System Operator หรือ CAISO) ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระไม่แสวงหาผลกำไรได้เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2022 ที่ผ่านมา เวลา 14.45 น. ความต้องการพลังงานของประชากรภายในรัฐแคลิฟอร์เนียอยู่ที่ 18,672 เมกะวัตต์ ในขณะเดียวกัน รัฐมีกำลังการผลิตอยู่ที่ 37,172 เมกะวัตต์ นับเป็นครั้งแรกที่รัฐสามารถผลิตพลังงานจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนในธรรมชาติได้ครอบคลุมความต้องการของประชากรแบบ 100 เปอร์เซ็นต์ และกินเวลายาวนานอยู่ 15 นาที ก่อนจะลดลงมาเหลือ 97 เปอร์เซ็นต์


แดน จาค็อบสัน (Dan Jacobson) ผู้ร่วมก่อตั้งอีโคอิควิตี้ (EcoEquity) ทำงานเพื่อสิ่งแวดล้อมในรัฐแคลิฟอร์เนียได้ออกมาเผยแพร่ภาพการประมวลผลพลังงานในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งเห็นได้ชัดว่ากำลังผลิตของรัฐในช่วงเวลานั้นสามารถผลิตได้เหลือเฟือ จึงถูกส่งไปให้กับรัฐใกล้เคียงด้วย

แหล่งพลังงานหมุนเวียนที่รัฐแคลิฟอร์เนียใช้ในการผลิตไฟฟ้า 2 ใน 3 มาจากพลังงานแสงอาทิตย์ นอกนั้นมาจากพลังงานลม พลังงานความร้อนใต้พิภพ และอื่น ๆ ยกเว้นพลังงานจากน้ำเนื่องจากรัฐแคลิฟอร์เนียเป็นรัฐที่ประสบปัญหาภัยแล้ง


ในปี 2020 รัฐแคลิฟอร์เนียประสบความสำเร็จในการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนในธรรมชาติสูงสุดอยู่ที่ 81 เปอร์เซ็นต์ และถึงแม้เหตุการณ์เมื่อวันเสาร์ที่ 30 เมษายน 2022 ที่ผ่านมา จะกินเวลาสั้น ๆ เพียง 15 นาที แต่ก็ชี้ให้เห็นว่ารัฐมีความก้าวหน้า ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนในธรรมชาติให้ครอบคลุมต่อความต้องการของประชากรได้ทั้งหมดเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ และสามารถทำได้ โดยหลังจากนี้รัฐแคลิฟอร์เนียมีเป้าหมายที่จะทำให้ได้นานขึ้น จาก 15 นาที เป็น 1 ชั่วโมง จาก 1 ชั่วโมง เป็น 1 วัน จาก 1 วัน เป็น 1 เดือน และจาก 1 เดือน เป็น 1 ปี

ที่มา : https://www.tnnthailand.com/news/tech/112759/



Read More

ค้นหา

ข่าวล่าสุด

ใหญ่และหรู ! ต้นแบบเรือยอช์ตยักษ์ 40 เมตร แล่นฉิวแบบไร้มลพิษ

22 พ.ค. 2565

นักวิจัยเคมบริดจ์ใช้ สาหร่าย เป็นแหล่งพลังงานให้คอมพิวเตอร์

16 พ.ค. 2565

ครั้งแรกของโลก ! ที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบพกพา

15 พ.ค. 2565

Shine Turbine กังหันลมพกพา ชาร์จไฟมือถือด้วยพลังงานสะอาด

7 พ.ค. 2565

แคลิฟอร์เนียหันมาใช้พลังงานสะอาดแบบ 100 เปอร์เซ็นต์

4 พ.ค. 2565




Facebook Group


Youtube Channel


Twitter

ERC FOCUS

สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.)
319 อาคารจัตุรัสจามจุรี ชั้น 19 ถนนพญาไท แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน
กรุงเทพฯ 10330
โทร : 0 2207 3599 , โทรสาร : 0 2207 3506 , 0 2207 3502
Call Center : 1204
อีเมล์ : Energylearningcenter.erc@gmail.com

© Copyright ERC. All Rights Reserved