• ทั้งหมด
  • วารสารกำกับสำนักงาน กกพ. /
  • คลิปวิดีโอความรู้จาก กกพ.
  • ERC Show Time
  • ERC Podcast
  • ERC Infographic

รับสมัครกรรมการสรรหากรรมการ กกพ.





สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) เชิญชวนบุคคลเข้าร่วมเป็นกรรมการสรรหากรรมการกำกับกิจการพลังงานทดแทนกรรมการกำกับกิจการพลังงานที่จะครบวาระการดำรงตำแหน่ง จำนวน 3 คน คุณสมบัติเบื้องต้นมีดังนี้ 1. สัญชาติไทย 2. อายุไม่ต่ำกว่า 40 บริบูรณ์ และ 3. ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่ประกาศกำหนด เปิดรับสมัครจนถึงวันที่ 1 ก.ค. 2564 สำนักงาน กกพ. จะดำเนินการสรรหาและนำเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบภายในกรอบเวลาที่กำหนดตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป

รายการ พลังงานวันนี้ ช่อง 32 ไทยรัฐทีวี 27 มิถุนายน 2564 (07.09 - 07.10 น.) 


โรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก

"โรงไฟฟ้าเพื่อประโยชน์ของชุมชน" การรับซื้อกากพืชเหลือทิ้งจากภาคการเกษตรเพื่อนำไปผลิตไฟฟ้า

จากปัญหากากพืชเหลือทิ้งหลายแสนตันต่อปีจะหมดไป เพราะโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศษฐกิจฐานราก  ในการกำกับดูแลของสำนักงาน กกพ.  จะเข้ามาช่วยเหลือเกษตรกร สร้างรายได้ให้ชุมชนพร้อมประโชยน์อีกมากมาย โดยเฉพาะในชุมชนที่ห่างไกล

ถ้าอยากรู้ว่ามีรายละเอียดอย่างไรบ้าง ติดตามได้ที่คลิปนี้เลยครับ
#สำนักงานกกพ #กกพ #โรงไฟฟ้าชุมชน #โรงงานไฟฟ้า #ฟื้นฟูเศรษฐกิจ 
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : www.erc.or.th




โซลาร์ภาคประชาชน

พลังงานโซลาร์เพื่อประชาชน”

 

การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ นอกจากจะช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในครัวเรือนและการเกษตรแล้ว

ยังสามารถนำพลังงานที่เหลือการจากใช้งาน ไปขายให้กับโครงการโซลาร์ภาคประชาชน ของ สำนักงานกกพ. ซึ่งมีอัตรารับซื้ออยู่ที่ 2.20/kWh

อยากรู้ว่าโครงการดังกล่าวมีรายละเอียดอย่างไร สามารถติดตามได้ในคลิปนี้ครับ

 

#สำนักงานกกพ #พลังงานไฟฟ้าจากดวงอาทิตย์ #พลังงานโซลาร์ #โซลาร์ภาคประชาชน

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : www.erc.or.th

ชำแหละค่า Ft

ทุกคนสงสัยกันมั้ยว่า 

"ค่าเอฟ ที่อยู่ในบิลค่าไฟ คืออะไร ?  ทำไมเราถึงต้องจ่ายกันอยู่ทุกเดือน"

 

ที่ผ่านมานั้น.. มีใครเคยสังเกตรายละเอียดต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในบิลค่าไฟฟ้า ที่เราจ่ายกันทุกเดือนบ้างหรือเปล่าครับ 

ในนั้นหน่ะ นอกเหนือจากค่าไฟฟ้าที่เราใช้กัน และค่าบริการต่าง ๆ แล้ว เราก็มีเจ้า เอฟที นี่แหละอยู่ด้วย

 

แล้ว ?  เอฟที คืออะไร แล้วทำไมเราถึงต้องจ่ายค่าเอฟทีกันทุกเดือน

จำเป็นขนาดไหน มาไขข้อสงสัยทั้งหมดได้ในคลิปนี้เลยครับ

 

#สำนักงานกกพ #ERC #ค่าไฟฟ้าผันแปร #ค่าเอฟที #ERCfocus

ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมที่  Facebook Group : ERC Focus

หรือเว็บไซด์ https://erclearningcenter.com/

 




ทำความรู้จักค่าไฟฟ้าผันแปร Ft

กกพ. มีคำตอบ…ค่า Ft คืออะไร?

.

ในแต่ละเดือนที่เราต้องจ่ายค่าไฟ เคยสังเกตกันบ้างมั้ยว่า บนบิลมักจะมีค่าต่างๆเยอะแยะไปหมด และที่น่าสนใจคือค่า Ft ที่มีการเปลี่ยนไปมา ค่านี้คือค่าอะไรกัน

แล้วอะไรทำให้ค่า Ft มีการปรับเพิ่มขึ้นหรือลดลง

.

สำนักงาน กกพ. จะช่วยตอบคำถามของทุกคนให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น

ติดตามชมได้ที่คลิปนี้เลยครับ

 .

#สำนักงานกกพ #ERC #ค่าไฟฟ้าผันแปร #ค่าเอฟที #ไฟฟ้า #ค่าft #บิลค่าไฟ #ERCfocus

ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมที่  Facebook Group : ERC Focus

หรือเว็บไซด์ https://www.erclearningcenter.com/




เสรีก๊าซธรรมชาติ

เปิดเสรีก๊าซธรรมชาติ นำเข้า LNG

 

การเตรียมรับมือแนวโน้มการลดลงของก๊าซธรรมชาติ ที่เป็นปัจจัยหลักในการผลิตไฟฟ้าของไทย โดย 80% มาจากอ่าวไทย ซึ่งในปัจจุบันก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยเองมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ

สำนักงาน กกพ. ในฐานะหน่วยงานกำกับด้านพลังงาน จะรับมือกับเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างไร เพื่อให้คนในประเทศยังคงมีไฟฟ้าใช้อย่างต่อเนื่องด้วยราคาที่เป็นธรรม มาร่วมกันติดตามได้ในคลิปนี้เลยครับ

#กกพ #ก๊าซธรรมชาติ #พลังงานหมุนเวียน #ไฟฟ้า

 

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติม ได้ที่ : www.erclearningcenter.com หรือ Facebook Group : ERC Focus




ผลการดำเนินงานสำคัญในปี 2564 ของกกพ. และสำนักงาน กกพ.

การระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายของประชาชน
.
ผู้คนต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ทำงานแบบ work from home ค่าไฟในแต่ละเดือนก็สูงขึ้นตามมา กระทบต่อค่าใช้จ่ายของพี่น้องประชาชน
.
สำนักงาน กกพ. ดำเนินงานเพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ใช้ไฟฟ้าในช่วงสถานการณ์ที่ยากลำบากนี้อย่างไรบ้าง คลิปนี้มีคำตอบให้ทุกคน


#สำนักงานกกพ #workfromhome #ค่าไฟ #ไฟฟ้า #โควิด #covid19
ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมที่ Facebook Group : ERC Focus
หรือเว็บไซด์ https://www.erclearningcenter.com/
 



ตอนที่ 1 สำนักงาน กกพ. กับมาตรการเยียวยาประชาชนฝ่าโควิด เรื่องใกล้ตัวที่ควรรู้








ERC ShowTime 

ตอนที่ 1 “สำนักงาน กกพ. กับมาตรการเยียวยาประชาชนฝ่าโควิด เรื่องใกล้ตัวที่ควรรู้” 


▪️ศูนย์ข่าวพลังงาน Energy News Center (ENC) รับอาสามาเคลียร์ทุกประเด็นเกี่ยวกับงานกำกับกิจการพลังงาน และทุกเรื่องพลังงานที่ทุกคนอยากรู้ 


▪️วันนี้พาทุกคนมาสอบถามกับเจ้าภาพตัวจริงเกี่ยวกับมาตรการลดค่าไฟฟ้า ซึ่งก็คือ สำนักงาน คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน นั่นเอง ทำไมถึงเรียกว่าเจ้าภาพ? ถ้าจำกันได้เมื่อตอนโควิด-19 ระบาดใหม่ๆ สำนักงาน กกพ. เป็นองค์กรแรกๆ ที่ร่วมกับกระทรวงพลังงานผลักดันให้มีการลดค่าไฟฟ้าให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าทุกประเภททั่วประเทศ 


▪️พาทุกคนมาจับเข่าคุยกับ คุณคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงาน สำนักงาน กกพ. ถึงสถาณการณ์ค่าไฟในวันนี้ ว่าเป็นอย่างไร?


#ERC #ERCShowtime #ENC #COVID19 #สำนักงานกกพ #ค่าไฟ #โควิด19

ตอนที่ 2 พลังงานเศรษฐกิจใกล้ตัว กับ โรงไฟฟ้าใกล้ชุมชน กับ สำนักงาน กกพ.



ERC ShowTime 

ENC. รับอาสามาเคลียร์ทุกประเด็นเกี่ยวกับงานกำกับกิจการพลังงาน และทุกเรื่องพลังงานที่คุณและผมอยากรู้
เมื่อพูดถึงการมีโรงไฟฟ้าในชุมชน ทุกคนคงมโนไปถึงการมีโรงไฟฟ้าที่สร้างผลกระทบต่อวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ นึกถึงแต่ข้อเสียต่างๆ นานา แต่อย่าพึ่งคิดกันไปเลยเถิดครับ
ผมมีโรงไฟฟ้าประเภทหนึ่ง ที่อยากจะพาท่านไปรู้จักพร้อมๆ กับผมกันว่าน่าจะเป็นโรงไฟฟ้าประเภทแรกที่ได้รับการต้อนรับอย่างอุ่นหนาฝาคั่งจากชุมชนมากกว่า การเดินขบวนออกมาต่อต้าน และโรงไฟฟ้าที่ผมจะพาไปรู้จักคือ “โรงไฟฟ้าชุมชน เพื่อเศรษฐกิจฐานราก” ซึ่งจะเป็นการยกระดับความเป็นอยู่ สร้างความมั่งคั่งให้กับชุมชน และสุดท้ายจะเป็นกระตุ้นเศรษฐกิจฐาน
ผมขออาสาพาทุกคนมาจับเข่าคุยกับ คุณคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.)


#ERC #ERCShowtime #ENC #COVID19 #สำนักงานกกพ #ค่าไฟ #โควิด19

ตอนที่ 3 “สำนักงาน กกพ. ใกล้คุณ ด้วยเกณฑ์คัดเลือกโรงไฟฟ้าชุมชนอย่างมีส่วนร่วม”



ERC ShowTime 

ตอนที่ 3 “สำนักงาน กกพ. ใกล้คุณ ด้วยเกณฑ์คัดเลือกโรงไฟฟ้าชุมชนอย่างมีส่วนร่วม” กับ ERC Showtime “เคลียร์ทุกข้อสงสัย ตอบทุกปัญหาคาใจด้านพลังงาน”
ENC. รับอาสามาเคลียร์ทุกประเด็นเกี่ยวกับงานกำกับกิจการพลังงาน
และทุกเรื่องพลังงานที่คุณและผมอยากรู้


จากที่ได้เผยแพร่เรื่องโรงไฟฟ้าชุมชน ได้รับความสนใจล้นหลามครับ หลายคนขอให้ผมมาถาม “พี่เต้ย” ต่อถึง ประเด็นเรื่องเกณฑ์การคัดเลือกโรงไฟฟ้าชุมชนฯ ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร และกระบวนการตัดสินเป็นไปด้วยความโปร่งใสมากน้อยเพียงใด ?

วันนี้ผมขออาสาพาทุกคนมาจับเข่าคุยกับ คุณคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงาน กกพ. กันครับ


#ERC #ERCShowtime #ENC #COVID19 #สำนักงานกกพ #ค่าไฟ #โควิด19

ตอนที่ 4 “กกพ. สนับสนุนกองทุนพัฒนาไฟฟ้า พัฒนาชุมชน”

ERC Showtime ตอนที่ 4 “กกพ. สนับสนุนกองทุนพัฒนาไฟฟ้า พัฒนาชุมชน”



#ERCShowtime ตอนที่ 4 “กกพ. สนับสนุนกองทุนพัฒนาไฟฟ้า พัฒนาชุมชน” กับ ERC Showtime “เคลียร์ทุกข้อสงสัย ตอบทุกปัญหาคาใจด้านพลังงาน”
ศูนย์ข่าวพลังงาน Energy News Center (ENC) รับอาสามาเคลียร์ทุกประเด็นเกี่ยวกับงานกำกับกิจการพลังงาน และทุกเรื่องพลังงานที่ทุกคนอยากรู้
วันนี้ ENC ได้มีโอกาสพูดคุยกับ "พี่เต้ย" คุณคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือสำนักงาน กกพ. ถึงเรื่องที่หลายคนอยากรู้ คือ บทบาทและหน้าที่ของกองทุนพัฒนาไฟฟ้า ที่มีส่วนสำคัญยิ่งในการสร้างการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของชุมชนกับโรงไฟฟ้าที่เข้าไปตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชนต่างๆ จนปัจจุบัน โรงไฟฟ้าต่างๆ ส่วนใหญ่ได้รับการต้อนรับให้สร้างได้ และสามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบได้ตามแผน เป็นเพราะอะไร? ไปฟังกันครับ
#ERC #กกพ #กองทุนไฟฟ้า

ตอนที่ 6 ERC ไขข้อข้องใจ “บ้านแบบไหน ติดโซลาร์ผลิตไฟแล้วคุ้ม”

#ERCShowtime ตอนที่ 6 ERC ไขข้อข้องใจ “บ้านแบบไหน ติดโซลาร์ผลิตไฟแล้วคุ้ม”

***ERC Showtime “เคลียร์ทุกข้อสงสัย ตอบทุกปัญหาคาใจด้านพลังงาน”***

ศูนย์ข่าวพลังงาน Energy News Center (ENC) รับอาสามาเคลียร์ทุกประเด็นเกี่ยวกับงานกำกับกิจการพลังงาน และทุกเรื่องพลังงานที่ทุกคนอยากรู้ 

วันนี้ ศูนย์ข่าวพลังงานพาทุกคนมาคลายข้อสงสัย กับอีกหนึ่งคำถามเกี่ยวกับโครงการภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงาน กกพ. ที่ทุกคนถามเข้ามากันเยอะมาก ๆ เกี่ยวกับ “โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา สำหรับภาคประชาชนประเภทบ้านอยู่อาศัย พ.ศ. 2564” หรือ โซลาร์ภาคประชาชน ว่าโครงการนี้เป็นโครงการเกี่ยวกับอะไร ต้องเป็นบ้านประเภทไหนถึงจะติดโซลาร์เซลล์ผลิตไฟฟ้าแล้วคุ้มค่าที่สุด 

มาจับเข่าคุยกับ คุณคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงาน กกพ. กันอีกครั้ง

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.erc.or.th
หรือแอพพลิเคชั่น ERC Thailand



ERC Showtime #2 ตอนที่ 4 “Before and After 15 ปี กกพ. กำกับดูแลกิจการไฟฟ้าและก๊าซ”

<iframe width="1280" height="720" src="https://www.youtube.com/embed/lzlje3t3g9s" title="ERC Showtime #2 ตอนที่ 4 “Before and After 15 ปี กกพ. กำกับดูแลกิจการไฟฟ้าและก๊าซ”" frameborder="0" allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen></iframe>



ERC Showtime #2 “เคลียร์ทุกข้อสงสัย ตอบทุกปัญหาคาใจด้านพลังงาน”
ตอนที่ 4 : “Before and After 15 ปี กกพ. กำกับดูแลกิจการไฟฟ้าและก๊าซ”
สำหรับวันนี้จะพาทุกคนย้อนกลับไปถึงงานกำกับดูแลกิจการพลังงานและก๊าซฯ ว่าก่อนและหลังมี กกพ. และสำนักงาน กกพ. แล้วเป็นเวลา 15 ปี นั้น ภาคพลังงานของบ้านเราเป็นอย่างไรและเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร รวมถึงการบริหารจัดการให้เกิดความเป็นธรรมและโปร่งใสกับทุกฝ่ายได้อย่างไรบ้าง
➡️ ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.erc.or.th หรือแอพพลิเคชั่น ERC Thailand


ERC Showtime #2 ตอนที่ 5 “ความเปลี่ยนแปลงของกิจการไฟฟ้าและก๊าซภายใต้องค์กรกำกับ”



ERC Showtime #2 “เคลียร์ทุกข้อสงสัย ตอบทุกปัญหาคาใจด้านพลังงาน”
ตอนที่ 5 : “ความเปลี่ยนแปลงของกิจการไฟฟ้าและก๊าซภายใต้องค์กรกำกับ”
จากตอนที่แล้วทุกคนได้ทราบว่า ในเวลา 15 ปี กับงานกำกับดูแลกิจการพลังงานและก๊าซ ของ กกพ. กันไปแล้ว วันนี้จะพาทุกคนมารับรู้เกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงของกิจการไฟฟ้าและก๊าซในอนาคตของประเทศภายใต้การกำกับดูแลของ กกพ. รวมถึงต้นทุนเชื้อเพลิงที่ส่งผลต่อราคาไฟฟ้าในปัจจุบันจะเป็นอย่างไรบ้าง
➡️ ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.erc.or.th หรือแอพพลิเคชั่น ERC Thailand

ERC Showtime #2 ตอนที่ 1 “ตามรอยไฟฟ้า...และเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า”





 

ERC Showtime #2 “เคลียร์ทุกข้อสงสัย ตอบทุกปัญหาคาใจด้านพลังงาน” ตอนที่ 1 “ตามรอยไฟฟ้า...และเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า” เคลียร์ทุกประเด็นเกี่ยวกับงานกำกับกิจการพลังงาน และทุกเรื่องพลังงานที่ทุกคนอยากรู้ เชื่อว่าหลายท่านต่างให้ความสนใจและมีคำถามที่อยากรู้เกี่ยวกับเรื่องของไฟฟ้าว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร วันนี้จะพาไปตามรอยไฟฟ้า และสัดส่วนเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยว่ามีอะไรบ้าง เพื่อคลายข้อข้องใจให้กับประชาชนกัน

➡️ ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.erc.or.th หรือแอพพลิเคชั่น ERC Thailand

ERC Showtime #2 ตอนที่ 2 “ที่มาของค่าไฟและความเป็นธรรม”


<iframe width="1280" height="720" src="https://www.youtube.com/embed/4ePb8BC0bZM" title="ERC Showtime #2 ตอนที่ 2 “ที่มาของค่าไฟและความเป็นธรรม”" frameborder="0" allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen></iframe>


ERC Showtime #2 “เคลียร์ทุกข้อสงสัย ตอบทุกปัญหาคาใจด้านพลังงาน”

ตอนที่ 2 : “ที่มาของค่าไฟและความเป็นธรรม”

สืบเนื่องจากตอนที่แล้วที่ทุกคนได้ทราบถึงความเป็นมาเรื่องไฟฟ้า และเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้ากันไปแล้ว

ตอนที่ 2 นี้ จะพาไปหาคำตอบว่า ตัวเลขที่ปรากฎอยู่บนบิลค่าไฟนั้น มีการคำนวณค่าไฟฟ้าอย่างไร และค่าเอฟที ที่เป็นประเด็นที่หลายๆ คนกำลังสงสัย รวมไปถึงหลักการคำนวณค่าไฟฟ้าเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับประชาชน ว่าเป็นอย่างไรบ้าง

➡️ ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.erc.or.th หรือแอพพลิเคชั่น ERC Thailand



ERC Showtime #2 ตอนที่ 3 “แนวทางการบริหารจัดการต้นทุนค่าไฟฟ้า และค่าสายส่ง/จำหน่าย”

<iframe width="1280" height="720" src="https://www.youtube.com/embed/sJ7dOQ2bewo" title="ERC Showtime #2 ตอนที่ 3 “แนวทางการบริหารจัดการต้นทุนค่าไฟฟ้า และค่าสายส่ง/จำหน่าย”" frameborder="0" allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen></iframe>


ERC Showtime #2 “เคลียร์ทุกข้อสงสัย ตอบทุกปัญหาคาใจด้านพลังงาน”

ตอนที่ 3 : “แนวทางการบริหารจัดการต้นทุนค่าไฟฟ้า และค่าสายส่ง/จำหน่าย”

เกี่ยวกับประเด็นใกล้ตัวประชาชนผู้ใช้พลังงานทุกคน วันนี้จะพาไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการต้นทุนค่าไฟฟ้า อัตราค่าไฟฟ้าขายส่ง และค่าไฟฟ้าขายปลีก ก่อนที่จะมาถึงมือประชาชน ว่ามีแนวทางบริหารจัดการอย่างไรให้เกิดเป็นธรรมกับผู้ใช้พลังงานมากที่สุด

➡️ ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.erc.or.th หรือแอพพลิเคชั่น ERC Thailand





ตอนที่ 7 "สำนักงาน กกพ. กับกระบวนการรับฟังความเห็นก่อนการขออนุญาตสร้างโรงไฟฟ้า”


*** ERC Showtime “เคลียร์ทุกข้อสงสัย ตอบทุกปัญหาคาใจด้านพลังงาน” ***

ENC รับอาสามาเคลียร์ทุกประเด็นเกี่ยวกับงานกำกับกิจการพลังงาน และทุกเรื่องพลังงานที่ทุกคนอยากรู้
วันนี้ ENC จะพาไปทำความเข้าใจในเรื่องของสิทธิและประโยชน์ที่ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและร่วมกำหนดทิศทางของการจัดตั้งโรงไฟฟ้าในพื้นที่ของตนเอง
ร่วมพูดคุยในประเด็นที่ใกล้ตัวประชาชนทุกคนนี้ กับ คุณคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงาน กกพ.
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.erc.or.th / Facebook Group : ERC Focus หรือแอพพลิเคชั่น ERC Thailand

ตอนที่ 8 "การมีส่วนร่วมของประชาชนกับงานกำกับกิจการพลังงาน"


ERC Showtime ตอนที่ 8 "การมีส่วนร่วมของประชาชนกับงานกำกับกิจการพลังงาน"

*** ERC Showtime “เคลียร์ทุกข้อสงสัย ตอบทุกปัญหาคาใจด้านพลังงาน” ***

ENC รับอาสามาเคลียร์ทุกประเด็นเกี่ยวกับงานกำกับกิจการพลังงาน และทุกเรื่องพลังงานที่ทุกคนอยากรู้
ถ้าเราไม่ได้อาศัยอยู่ในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า เราจะมีโอกาสในการร่วมแสดงความคิดเห็นหรือ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการแบบนี้อย่างไรได้บ้าง และหลังจากที่ผมได้คุยกับพี่เต้ย คุณคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) มาในหลาย EP ต้องบอกเลยว่า ทางสำนักงาน กกพ. มีช่องทาง และบทบาทที่ประชาชนผู้ใช้พลังงานสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการงานกำกับกิจการพลังงานด้วยนะครับ
วันนี้ผมขออาสาพาทุกคนมาจับเข่าคุยกับ คุณคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงาน กกพ. ในประเด็นนี้กันครับ
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.erc.or.th หรือแอพพลิเคชั่น ERC Thailand

ตอนที่ 9 บทบาท หน้าที่ สำนักงาน กกพ. ภายใต้โครงสร้างใหม่


ERC Showtime ตอนที่ 9 บทบาท หน้าที่ สำนักงาน กกพ. ภายใต้โครงสร้างใหม่

*** ERC Showtime “เคลียร์ทุกข้อสงสัย ตอบทุกปัญหาคาใจด้านพลังงาน” ***
ENC รับอาสามาเคลียร์ทุกประเด็นเกี่ยวกับงานกำกับกิจการพลังงานและทุกเรื่องพลังงานที่ทุกคนอยากรู้
หลังจากได้นำเสนอ ERC Showtime มาหลายตอน เชื่อว่าทุกท่านได้รู้จักสำนักงาน กกพ. มากยิ่งขึ้น เกี่ยวกับนโยบายกำกับดูแลกิจการพลังงานที่สร้างประโยชน์ให้กับพี่น้องประชาชนผู้ใช้พลังงาน
ผ่านโครงการดีๆ หลายโครงการ แต่ก็ยังมีบทบาท ภารกิจ อีกหลายอย่างที่ สำนักงาน กกพ. เป็นผู้อยู่เบื้องหลัง จึงเป็นที่มาของการพาทุกท่านให้รู้จัก
สำนักงาน กกพ. ให้ลึกซึ้งมากขึ้นกับอีกกับบทบาท หน้าที่ สำนักงาน กกพ. ภายใต้โครงสร้างใหม่ โดยการพูดคุยกับ คุณคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงาน กกพ. กันอีกครั้ง
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.erc.or.th
หรือแอพพลิเคชั่น ERC Thailand

ตอนที่ 10 "ไขข้อข้องใจ ทำไมค่าไฟแพงขึ้น"


ERC Showtime ตอนที่ 10 "ไขข้อข้องใจ ทำไมค่าไฟแพงขึ้น" *** ERC Showtime “เคลียร์ทุกข้อสงสัย ตอบทุกปัญหาคาใจด้านพลังงาน” ***
▪️ Energy News Center (ENC) รับอาสามาเคลียร์ทุกประเด็นเกี่ยวกับงานกำกับกิจการพลังงาน และทุกเรื่องพลังงานที่ทุกคนอยากรู้
▪️หลังจากที่ สำนักงาน กกพ. ส่งสัญญาณชัดเตรียมเคาะค่าไฟฟ้างวดใหม่ช่วงเดือน ส.ค.-ธ.ค. 65 ภายในปลายเดือนนี้ หรือต้นเดือนหน้า ทำให้ค่าไฟที่เรียกเก็บจากประชาชนจะแพงถึง 5 บาทต่อหน่วย วันนี้เรามาจะไขข้องข้องใจกันว่าด้วยเหตุผลใด ที่ทำให้ค่าไฟแพงขึ้น
▪️ฟังโดยตรงจาก “คมกฤช ตันตระวาณิชย์” เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ที่กล่าวปาฐกถาพิเศษในงานซึ่งจัดโดยสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ ร่วมกับ สำนักงาน กกพ. เมื่อเร็วๆ นี้ โดยได้เล่าถึงแนวโน้มทิศทางค่าไฟฟ้า และปัจจัยและผลกระทบจากต้นทุนเชื้อเพลิงที่มีต่อค่าไฟฟ้า
➡️ ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

ตอนที่ 11 “มาตรการประหยัดพลังงาน เพื่อลดปริมาณการนำเข้า LNG Spot ราคาแพง”


ERC Showtime ตอนที่ 11 “มาตรการประหยัดพลังงาน เพื่อลดปริมาณการน้าเข้า LNG Spot ราคาแพง”
***ERC Showtime “เคลียร์ทุกข้อสงสัย ตอบทุกปัญหาคาใจด้านพลังงาน”***
▪️ Energy News Center - ENC รับอาสามาเคลียร์ทุกประเด็นเกี่ยวกับงานกำกับกิจการพลังงาน และทุกเรื่องพลังงานที่ทุกคนอยากรู้
▪️ จากสถานการณ์พลังงาน มีปัจจัยหลายส่วนที่ทำให้ค่าไฟในปัจจุบันแพงและต้องปรับราคาเพื่อให้เกิดความสมดุลกับทุกฝ่ายอย่างเป็นธรรม อย่างไรก็ตาม แนวทางการรับมือค่าไฟฟ้าแพงที่ทุกท่านสามารถทำได้ทันที คือ ร่วมมือกันประหยัดการใช้ไฟฟ้าอย่างจริงจัง เพราะประหยัดการใช้ไฟฟ้าให้ได้มากที่สุดเท่าไหร่ ก็นำเข้าเชื้อเพลิงราคาแพงมาผลิตไฟฟ้าน้อยลงเท่านั้น ค่าไฟก็จะถูกลงได้
▪️ วันนี้อยากชวนทุกท่านมาติดตามฟัง “มาตรการประหยัดพลังงานอย่างน้อย 10% เพื่อลดปริมาณการนำเข้า LNG Spot ราคาแพง” จากการบรรยายของ คุณคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) เพื่อนำไปปรับใช้และประโยชน์ในการช่วยลดค่าไฟฟ้าได้
#ERCSHOWTIME #ERC #กกพ

ตอนที่ 12 “เปิดมาตรการรับมือวิกฤตสู่การประหยัดพลังงาน”


ERC Showtime ตอนที่ 12 “เปิดมาตรการรับมือวิกฤตสู่การประหยัดพลังงาน”
*** ERC Showtime “เคลียร์ทุกข้อสงสัย ตอบทุกปัญหาคาใจด้านพลังงาน” ***
▪️ Energy News Center - ENC รับอาสามาเคลียร์ทุกประเด็นเกี่ยวกับงานกำกับกิจการพลังงาน และทุกเรื่องพลังงานที่ทุกคนอยากรู้
▪️ ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญในการออกมาตรการเพื่อรับมือกับวิกฤตพลังงานทั้งในระยะสั้นและระยะยาวเพื่อลดผลกระทบเชิงลบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และที่ผ่านมาคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ สำนักงาน กกพ. ได้ออกมาขอความร่วมมือประชาชนลดใช้ไฟฟ้า
▪️ สาเหตุหนึ่งของวิกฤตด้านพลังงานของประเทศไทยในปัจจุบัน เกิดจากในปี 2565 นี้ ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยมีปริมาณลดลง อันเป็นผลจากจากการผลิตก๊าซฯ ในแหล่งเอราวัณที่เปลี่ยนผู้ดำเนินการและเปลี่ยนผ่านระบบจากสัมปทานไปสู่ระบบแบ่งปันผลผลิต และไม่สามารถผลิตได้ตามข้อตกลง โดยมีปริมาณก๊าซฯ ลดลงเหลือ 399 ล้าน ลบ.ฟุตต่อวันหรือน้อยกว่า จากที่ควรจะอยู่ที่ 800 ล้าน ลบ.ฟุตต่อวัน ซึ่งทำให้ต้องมีการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลวหรือ LNG ที่มีราคาแพงจากต่างประเทศเข้ามาทดแทน
▪️ จากสถานการณ์ราคาพลังงานดังกล่าว การประหยัดพลังงานจึงเป็นแนวทางที่ทุกคนต้องร่วมมือกัน วันนี้ ENC จึงได้รวบรวมมาตรการต่าง ๆ ในการประหยัดพลังงานจากหลายประเทศมาให้ทุกท่านได้รับชม
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.erc.or.th
หรือแอพพลิเคชั่น ERC Thailand

ตอนที่ 1 สำนักงาน กกพ. กับมาตรการเยียวยาประชาชนฝ่าโควิด เรื่องใกล้ตัวที่ควรรู้








ERC ShowTime 

ตอนที่ 1 “สำนักงาน กกพ. กับมาตรการเยียวยาประชาชนฝ่าโควิด เรื่องใกล้ตัวที่ควรรู้” 


▪️ศูนย์ข่าวพลังงาน Energy News Center (ENC) รับอาสามาเคลียร์ทุกประเด็นเกี่ยวกับงานกำกับกิจการพลังงาน และทุกเรื่องพลังงานที่ทุกคนอยากรู้ 


▪️วันนี้พาทุกคนมาสอบถามกับเจ้าภาพตัวจริงเกี่ยวกับมาตรการลดค่าไฟฟ้า ซึ่งก็คือ สำนักงาน คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน นั่นเอง ทำไมถึงเรียกว่าเจ้าภาพ? ถ้าจำกันได้เมื่อตอนโควิด-19 ระบาดใหม่ๆ สำนักงาน กกพ. เป็นองค์กรแรกๆ ที่ร่วมกับกระทรวงพลังงานผลักดันให้มีการลดค่าไฟฟ้าให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าทุกประเภททั่วประเทศ 


▪️พาทุกคนมาจับเข่าคุยกับ คุณคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงาน สำนักงาน กกพ. ถึงสถาณการณ์ค่าไฟในวันนี้ ว่าเป็นอย่างไร?


#ERC #ERCShowtime #ENC #COVID19 #สำนักงานกกพ #ค่าไฟ #โควิด19

ตอนที่ 2 พลังงานเศรษฐกิจใกล้ตัว กับ โรงไฟฟ้าใกล้ชุมชน กับ สำนักงาน กกพ.



ERC ShowTime 

ENC. รับอาสามาเคลียร์ทุกประเด็นเกี่ยวกับงานกำกับกิจการพลังงาน และทุกเรื่องพลังงานที่คุณและผมอยากรู้
เมื่อพูดถึงการมีโรงไฟฟ้าในชุมชน ทุกคนคงมโนไปถึงการมีโรงไฟฟ้าที่สร้างผลกระทบต่อวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ นึกถึงแต่ข้อเสียต่างๆ นานา แต่อย่าพึ่งคิดกันไปเลยเถิดครับ
ผมมีโรงไฟฟ้าประเภทหนึ่ง ที่อยากจะพาท่านไปรู้จักพร้อมๆ กับผมกันว่าน่าจะเป็นโรงไฟฟ้าประเภทแรกที่ได้รับการต้อนรับอย่างอุ่นหนาฝาคั่งจากชุมชนมากกว่า การเดินขบวนออกมาต่อต้าน และโรงไฟฟ้าที่ผมจะพาไปรู้จักคือ “โรงไฟฟ้าชุมชน เพื่อเศรษฐกิจฐานราก” ซึ่งจะเป็นการยกระดับความเป็นอยู่ สร้างความมั่งคั่งให้กับชุมชน และสุดท้ายจะเป็นกระตุ้นเศรษฐกิจฐาน
ผมขออาสาพาทุกคนมาจับเข่าคุยกับ คุณคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.)


#ERC #ERCShowtime #ENC #COVID19 #สำนักงานกกพ #ค่าไฟ #โควิด19

ตอนที่ 3 “สำนักงาน กกพ. ใกล้คุณ ด้วยเกณฑ์คัดเลือกโรงไฟฟ้าชุมชนอย่างมีส่วนร่วม”



ERC ShowTime 

ตอนที่ 3 “สำนักงาน กกพ. ใกล้คุณ ด้วยเกณฑ์คัดเลือกโรงไฟฟ้าชุมชนอย่างมีส่วนร่วม” กับ ERC Showtime “เคลียร์ทุกข้อสงสัย ตอบทุกปัญหาคาใจด้านพลังงาน”
ENC. รับอาสามาเคลียร์ทุกประเด็นเกี่ยวกับงานกำกับกิจการพลังงาน
และทุกเรื่องพลังงานที่คุณและผมอยากรู้


จากที่ได้เผยแพร่เรื่องโรงไฟฟ้าชุมชน ได้รับความสนใจล้นหลามครับ หลายคนขอให้ผมมาถาม “พี่เต้ย” ต่อถึง ประเด็นเรื่องเกณฑ์การคัดเลือกโรงไฟฟ้าชุมชนฯ ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร และกระบวนการตัดสินเป็นไปด้วยความโปร่งใสมากน้อยเพียงใด ?

วันนี้ผมขออาสาพาทุกคนมาจับเข่าคุยกับ คุณคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงาน กกพ. กันครับ


#ERC #ERCShowtime #ENC #COVID19 #สำนักงานกกพ #ค่าไฟ #โควิด19

ตอนที่ 4 “กกพ. สนับสนุนกองทุนพัฒนาไฟฟ้า พัฒนาชุมชน”

ERC Showtime ตอนที่ 4 “กกพ. สนับสนุนกองทุนพัฒนาไฟฟ้า พัฒนาชุมชน”



#ERCShowtime ตอนที่ 4 “กกพ. สนับสนุนกองทุนพัฒนาไฟฟ้า พัฒนาชุมชน” กับ ERC Showtime “เคลียร์ทุกข้อสงสัย ตอบทุกปัญหาคาใจด้านพลังงาน”
ศูนย์ข่าวพลังงาน Energy News Center (ENC) รับอาสามาเคลียร์ทุกประเด็นเกี่ยวกับงานกำกับกิจการพลังงาน และทุกเรื่องพลังงานที่ทุกคนอยากรู้
วันนี้ ENC ได้มีโอกาสพูดคุยกับ "พี่เต้ย" คุณคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือสำนักงาน กกพ. ถึงเรื่องที่หลายคนอยากรู้ คือ บทบาทและหน้าที่ของกองทุนพัฒนาไฟฟ้า ที่มีส่วนสำคัญยิ่งในการสร้างการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของชุมชนกับโรงไฟฟ้าที่เข้าไปตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชนต่างๆ จนปัจจุบัน โรงไฟฟ้าต่างๆ ส่วนใหญ่ได้รับการต้อนรับให้สร้างได้ และสามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบได้ตามแผน เป็นเพราะอะไร? ไปฟังกันครับ
#ERC #กกพ #กองทุนไฟฟ้า

ตอนที่ 6 ERC ไขข้อข้องใจ “บ้านแบบไหน ติดโซลาร์ผลิตไฟแล้วคุ้ม”

#ERCShowtime ตอนที่ 6 ERC ไขข้อข้องใจ “บ้านแบบไหน ติดโซลาร์ผลิตไฟแล้วคุ้ม”

***ERC Showtime “เคลียร์ทุกข้อสงสัย ตอบทุกปัญหาคาใจด้านพลังงาน”***

ศูนย์ข่าวพลังงาน Energy News Center (ENC) รับอาสามาเคลียร์ทุกประเด็นเกี่ยวกับงานกำกับกิจการพลังงาน และทุกเรื่องพลังงานที่ทุกคนอยากรู้ 

วันนี้ ศูนย์ข่าวพลังงานพาทุกคนมาคลายข้อสงสัย กับอีกหนึ่งคำถามเกี่ยวกับโครงการภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงาน กกพ. ที่ทุกคนถามเข้ามากันเยอะมาก ๆ เกี่ยวกับ “โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา สำหรับภาคประชาชนประเภทบ้านอยู่อาศัย พ.ศ. 2564” หรือ โซลาร์ภาคประชาชน ว่าโครงการนี้เป็นโครงการเกี่ยวกับอะไร ต้องเป็นบ้านประเภทไหนถึงจะติดโซลาร์เซลล์ผลิตไฟฟ้าแล้วคุ้มค่าที่สุด 

มาจับเข่าคุยกับ คุณคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงาน กกพ. กันอีกครั้ง

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.erc.or.th
หรือแอพพลิเคชั่น ERC Thailand



ERC Showtime #2 ตอนที่ 4 “Before and After 15 ปี กกพ. กำกับดูแลกิจการไฟฟ้าและก๊าซ”

<iframe width="1280" height="720" src="https://www.youtube.com/embed/lzlje3t3g9s" title="ERC Showtime #2 ตอนที่ 4 “Before and After 15 ปี กกพ. กำกับดูแลกิจการไฟฟ้าและก๊าซ”" frameborder="0" allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen></iframe>



ERC Showtime #2 “เคลียร์ทุกข้อสงสัย ตอบทุกปัญหาคาใจด้านพลังงาน”
ตอนที่ 4 : “Before and After 15 ปี กกพ. กำกับดูแลกิจการไฟฟ้าและก๊าซ”
สำหรับวันนี้จะพาทุกคนย้อนกลับไปถึงงานกำกับดูแลกิจการพลังงานและก๊าซฯ ว่าก่อนและหลังมี กกพ. และสำนักงาน กกพ. แล้วเป็นเวลา 15 ปี นั้น ภาคพลังงานของบ้านเราเป็นอย่างไรและเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร รวมถึงการบริหารจัดการให้เกิดความเป็นธรรมและโปร่งใสกับทุกฝ่ายได้อย่างไรบ้าง
➡️ ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.erc.or.th หรือแอพพลิเคชั่น ERC Thailand


ERC Showtime #2 ตอนที่ 5 “ความเปลี่ยนแปลงของกิจการไฟฟ้าและก๊าซภายใต้องค์กรกำกับ”



ERC Showtime #2 “เคลียร์ทุกข้อสงสัย ตอบทุกปัญหาคาใจด้านพลังงาน”
ตอนที่ 5 : “ความเปลี่ยนแปลงของกิจการไฟฟ้าและก๊าซภายใต้องค์กรกำกับ”
จากตอนที่แล้วทุกคนได้ทราบว่า ในเวลา 15 ปี กับงานกำกับดูแลกิจการพลังงานและก๊าซ ของ กกพ. กันไปแล้ว วันนี้จะพาทุกคนมารับรู้เกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงของกิจการไฟฟ้าและก๊าซในอนาคตของประเทศภายใต้การกำกับดูแลของ กกพ. รวมถึงต้นทุนเชื้อเพลิงที่ส่งผลต่อราคาไฟฟ้าในปัจจุบันจะเป็นอย่างไรบ้าง
➡️ ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.erc.or.th หรือแอพพลิเคชั่น ERC Thailand

ERC Showtime #2 ตอนที่ 1 “ตามรอยไฟฟ้า...และเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า”





 

ERC Showtime #2 “เคลียร์ทุกข้อสงสัย ตอบทุกปัญหาคาใจด้านพลังงาน” ตอนที่ 1 “ตามรอยไฟฟ้า...และเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า” เคลียร์ทุกประเด็นเกี่ยวกับงานกำกับกิจการพลังงาน และทุกเรื่องพลังงานที่ทุกคนอยากรู้ เชื่อว่าหลายท่านต่างให้ความสนใจและมีคำถามที่อยากรู้เกี่ยวกับเรื่องของไฟฟ้าว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร วันนี้จะพาไปตามรอยไฟฟ้า และสัดส่วนเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยว่ามีอะไรบ้าง เพื่อคลายข้อข้องใจให้กับประชาชนกัน

➡️ ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.erc.or.th หรือแอพพลิเคชั่น ERC Thailand

ERC Showtime #2 ตอนที่ 2 “ที่มาของค่าไฟและความเป็นธรรม”


<iframe width="1280" height="720" src="https://www.youtube.com/embed/4ePb8BC0bZM" title="ERC Showtime #2 ตอนที่ 2 “ที่มาของค่าไฟและความเป็นธรรม”" frameborder="0" allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen></iframe>


ERC Showtime #2 “เคลียร์ทุกข้อสงสัย ตอบทุกปัญหาคาใจด้านพลังงาน”

ตอนที่ 2 : “ที่มาของค่าไฟและความเป็นธรรม”

สืบเนื่องจากตอนที่แล้วที่ทุกคนได้ทราบถึงความเป็นมาเรื่องไฟฟ้า และเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้ากันไปแล้ว

ตอนที่ 2 นี้ จะพาไปหาคำตอบว่า ตัวเลขที่ปรากฎอยู่บนบิลค่าไฟนั้น มีการคำนวณค่าไฟฟ้าอย่างไร และค่าเอฟที ที่เป็นประเด็นที่หลายๆ คนกำลังสงสัย รวมไปถึงหลักการคำนวณค่าไฟฟ้าเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับประชาชน ว่าเป็นอย่างไรบ้าง

➡️ ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.erc.or.th หรือแอพพลิเคชั่น ERC Thailand



ERC Showtime #2 ตอนที่ 3 “แนวทางการบริหารจัดการต้นทุนค่าไฟฟ้า และค่าสายส่ง/จำหน่าย”

<iframe width="1280" height="720" src="https://www.youtube.com/embed/sJ7dOQ2bewo" title="ERC Showtime #2 ตอนที่ 3 “แนวทางการบริหารจัดการต้นทุนค่าไฟฟ้า และค่าสายส่ง/จำหน่าย”" frameborder="0" allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen></iframe>


ERC Showtime #2 “เคลียร์ทุกข้อสงสัย ตอบทุกปัญหาคาใจด้านพลังงาน”

ตอนที่ 3 : “แนวทางการบริหารจัดการต้นทุนค่าไฟฟ้า และค่าสายส่ง/จำหน่าย”

เกี่ยวกับประเด็นใกล้ตัวประชาชนผู้ใช้พลังงานทุกคน วันนี้จะพาไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการต้นทุนค่าไฟฟ้า อัตราค่าไฟฟ้าขายส่ง และค่าไฟฟ้าขายปลีก ก่อนที่จะมาถึงมือประชาชน ว่ามีแนวทางบริหารจัดการอย่างไรให้เกิดเป็นธรรมกับผู้ใช้พลังงานมากที่สุด

➡️ ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.erc.or.th หรือแอพพลิเคชั่น ERC Thailand





ตอนที่ 7 "สำนักงาน กกพ. กับกระบวนการรับฟังความเห็นก่อนการขออนุญาตสร้างโรงไฟฟ้า”


*** ERC Showtime “เคลียร์ทุกข้อสงสัย ตอบทุกปัญหาคาใจด้านพลังงาน” ***

ENC รับอาสามาเคลียร์ทุกประเด็นเกี่ยวกับงานกำกับกิจการพลังงาน และทุกเรื่องพลังงานที่ทุกคนอยากรู้
วันนี้ ENC จะพาไปทำความเข้าใจในเรื่องของสิทธิและประโยชน์ที่ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและร่วมกำหนดทิศทางของการจัดตั้งโรงไฟฟ้าในพื้นที่ของตนเอง
ร่วมพูดคุยในประเด็นที่ใกล้ตัวประชาชนทุกคนนี้ กับ คุณคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงาน กกพ.
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.erc.or.th / Facebook Group : ERC Focus หรือแอพพลิเคชั่น ERC Thailand

ตอนที่ 8 "การมีส่วนร่วมของประชาชนกับงานกำกับกิจการพลังงาน"


ERC Showtime ตอนที่ 8 "การมีส่วนร่วมของประชาชนกับงานกำกับกิจการพลังงาน"

*** ERC Showtime “เคลียร์ทุกข้อสงสัย ตอบทุกปัญหาคาใจด้านพลังงาน” ***

ENC รับอาสามาเคลียร์ทุกประเด็นเกี่ยวกับงานกำกับกิจการพลังงาน และทุกเรื่องพลังงานที่ทุกคนอยากรู้
ถ้าเราไม่ได้อาศัยอยู่ในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า เราจะมีโอกาสในการร่วมแสดงความคิดเห็นหรือ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการแบบนี้อย่างไรได้บ้าง และหลังจากที่ผมได้คุยกับพี่เต้ย คุณคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) มาในหลาย EP ต้องบอกเลยว่า ทางสำนักงาน กกพ. มีช่องทาง และบทบาทที่ประชาชนผู้ใช้พลังงานสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการงานกำกับกิจการพลังงานด้วยนะครับ
วันนี้ผมขออาสาพาทุกคนมาจับเข่าคุยกับ คุณคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงาน กกพ. ในประเด็นนี้กันครับ
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.erc.or.th หรือแอพพลิเคชั่น ERC Thailand

ตอนที่ 9 บทบาท หน้าที่ สำนักงาน กกพ. ภายใต้โครงสร้างใหม่


ERC Showtime ตอนที่ 9 บทบาท หน้าที่ สำนักงาน กกพ. ภายใต้โครงสร้างใหม่

*** ERC Showtime “เคลียร์ทุกข้อสงสัย ตอบทุกปัญหาคาใจด้านพลังงาน” ***
ENC รับอาสามาเคลียร์ทุกประเด็นเกี่ยวกับงานกำกับกิจการพลังงานและทุกเรื่องพลังงานที่ทุกคนอยากรู้
หลังจากได้นำเสนอ ERC Showtime มาหลายตอน เชื่อว่าทุกท่านได้รู้จักสำนักงาน กกพ. มากยิ่งขึ้น เกี่ยวกับนโยบายกำกับดูแลกิจการพลังงานที่สร้างประโยชน์ให้กับพี่น้องประชาชนผู้ใช้พลังงาน
ผ่านโครงการดีๆ หลายโครงการ แต่ก็ยังมีบทบาท ภารกิจ อีกหลายอย่างที่ สำนักงาน กกพ. เป็นผู้อยู่เบื้องหลัง จึงเป็นที่มาของการพาทุกท่านให้รู้จัก
สำนักงาน กกพ. ให้ลึกซึ้งมากขึ้นกับอีกกับบทบาท หน้าที่ สำนักงาน กกพ. ภายใต้โครงสร้างใหม่ โดยการพูดคุยกับ คุณคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงาน กกพ. กันอีกครั้ง
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.erc.or.th
หรือแอพพลิเคชั่น ERC Thailand

ตอนที่ 10 "ไขข้อข้องใจ ทำไมค่าไฟแพงขึ้น"


ERC Showtime ตอนที่ 10 "ไขข้อข้องใจ ทำไมค่าไฟแพงขึ้น" *** ERC Showtime “เคลียร์ทุกข้อสงสัย ตอบทุกปัญหาคาใจด้านพลังงาน” ***
▪️ Energy News Center (ENC) รับอาสามาเคลียร์ทุกประเด็นเกี่ยวกับงานกำกับกิจการพลังงาน และทุกเรื่องพลังงานที่ทุกคนอยากรู้
▪️หลังจากที่ สำนักงาน กกพ. ส่งสัญญาณชัดเตรียมเคาะค่าไฟฟ้างวดใหม่ช่วงเดือน ส.ค.-ธ.ค. 65 ภายในปลายเดือนนี้ หรือต้นเดือนหน้า ทำให้ค่าไฟที่เรียกเก็บจากประชาชนจะแพงถึง 5 บาทต่อหน่วย วันนี้เรามาจะไขข้องข้องใจกันว่าด้วยเหตุผลใด ที่ทำให้ค่าไฟแพงขึ้น
▪️ฟังโดยตรงจาก “คมกฤช ตันตระวาณิชย์” เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ที่กล่าวปาฐกถาพิเศษในงานซึ่งจัดโดยสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ ร่วมกับ สำนักงาน กกพ. เมื่อเร็วๆ นี้ โดยได้เล่าถึงแนวโน้มทิศทางค่าไฟฟ้า และปัจจัยและผลกระทบจากต้นทุนเชื้อเพลิงที่มีต่อค่าไฟฟ้า
➡️ ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

ตอนที่ 11 “มาตรการประหยัดพลังงาน เพื่อลดปริมาณการนำเข้า LNG Spot ราคาแพง”


ERC Showtime ตอนที่ 11 “มาตรการประหยัดพลังงาน เพื่อลดปริมาณการน้าเข้า LNG Spot ราคาแพง”
***ERC Showtime “เคลียร์ทุกข้อสงสัย ตอบทุกปัญหาคาใจด้านพลังงาน”***
▪️ Energy News Center - ENC รับอาสามาเคลียร์ทุกประเด็นเกี่ยวกับงานกำกับกิจการพลังงาน และทุกเรื่องพลังงานที่ทุกคนอยากรู้
▪️ จากสถานการณ์พลังงาน มีปัจจัยหลายส่วนที่ทำให้ค่าไฟในปัจจุบันแพงและต้องปรับราคาเพื่อให้เกิดความสมดุลกับทุกฝ่ายอย่างเป็นธรรม อย่างไรก็ตาม แนวทางการรับมือค่าไฟฟ้าแพงที่ทุกท่านสามารถทำได้ทันที คือ ร่วมมือกันประหยัดการใช้ไฟฟ้าอย่างจริงจัง เพราะประหยัดการใช้ไฟฟ้าให้ได้มากที่สุดเท่าไหร่ ก็นำเข้าเชื้อเพลิงราคาแพงมาผลิตไฟฟ้าน้อยลงเท่านั้น ค่าไฟก็จะถูกลงได้
▪️ วันนี้อยากชวนทุกท่านมาติดตามฟัง “มาตรการประหยัดพลังงานอย่างน้อย 10% เพื่อลดปริมาณการนำเข้า LNG Spot ราคาแพง” จากการบรรยายของ คุณคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) เพื่อนำไปปรับใช้และประโยชน์ในการช่วยลดค่าไฟฟ้าได้
#ERCSHOWTIME #ERC #กกพ

ตอนที่ 12 “เปิดมาตรการรับมือวิกฤตสู่การประหยัดพลังงาน”


ERC Showtime ตอนที่ 12 “เปิดมาตรการรับมือวิกฤตสู่การประหยัดพลังงาน”
*** ERC Showtime “เคลียร์ทุกข้อสงสัย ตอบทุกปัญหาคาใจด้านพลังงาน” ***
▪️ Energy News Center - ENC รับอาสามาเคลียร์ทุกประเด็นเกี่ยวกับงานกำกับกิจการพลังงาน และทุกเรื่องพลังงานที่ทุกคนอยากรู้
▪️ ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญในการออกมาตรการเพื่อรับมือกับวิกฤตพลังงานทั้งในระยะสั้นและระยะยาวเพื่อลดผลกระทบเชิงลบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และที่ผ่านมาคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ สำนักงาน กกพ. ได้ออกมาขอความร่วมมือประชาชนลดใช้ไฟฟ้า
▪️ สาเหตุหนึ่งของวิกฤตด้านพลังงานของประเทศไทยในปัจจุบัน เกิดจากในปี 2565 นี้ ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยมีปริมาณลดลง อันเป็นผลจากจากการผลิตก๊าซฯ ในแหล่งเอราวัณที่เปลี่ยนผู้ดำเนินการและเปลี่ยนผ่านระบบจากสัมปทานไปสู่ระบบแบ่งปันผลผลิต และไม่สามารถผลิตได้ตามข้อตกลง โดยมีปริมาณก๊าซฯ ลดลงเหลือ 399 ล้าน ลบ.ฟุตต่อวันหรือน้อยกว่า จากที่ควรจะอยู่ที่ 800 ล้าน ลบ.ฟุตต่อวัน ซึ่งทำให้ต้องมีการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลวหรือ LNG ที่มีราคาแพงจากต่างประเทศเข้ามาทดแทน
▪️ จากสถานการณ์ราคาพลังงานดังกล่าว การประหยัดพลังงานจึงเป็นแนวทางที่ทุกคนต้องร่วมมือกัน วันนี้ ENC จึงได้รวบรวมมาตรการต่าง ๆ ในการประหยัดพลังงานจากหลายประเทศมาให้ทุกท่านได้รับชม
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.erc.or.th
หรือแอพพลิเคชั่น ERC Thailand

กพช. เห็นชอบโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับการส่งเสริมการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ 2 (ใหม่)

ที่ประชุม กพช. (4 ส.ค. 64) เห็นชอบโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับการส่งเสริมการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ 2 (ใหม่) 
นายสุพัฒนพงษ์  พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้พิจารณาเห็นชอบ  โครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับการส่งเสริมการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ 2 (ใหม่) 

โครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติ 3 กลุ่ม

1. ราคาก๊าซธรรมชาติที่ขายให้กับโรงแยกก๊าซธรรมชาติ 
• ราคาเฉลี่ยก๊าซฯ อ่าวไทย (Gulf Gas) 
• ค่าบริการในการจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ 
• ค่าผ่านท่อก๊าซธรรมชาติในทะเล (Zone 1)

2. ราคาก๊าซธรรมชาติที่ Shipper ปตท. ขายในกลุ่ม Old Supply 
• ราคาเฉลี่ยของก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยหลังโรงแยก (รวมค่าผ่านท่อก๊าซธรรมชาติในทะเล) ก๊าซธรรมชาติจากเมียนมา ณ ชายแดน และก๊าซ LNG (รวมค่าบริการสถานี LNG ในการเก็บรักษาและแปรสภาพก๊าซ) (Pool Gas) 
• ค่าบริการในการจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ (S)
• ค่าผ่านท่อก๊าซธรรมชาติบนบก (Zone 2-4) (โรงไฟฟ้าน้ำพอง ราคาเฉลี่ยเนื้อก๊าซให้เป็นไปตามที่ ปตท. รับซื้อจากผู้รับสัมปทานค่าบริการในการจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ และค่าผ่านท่อก๊าซธรรมชาติบนบก (Zone 5)) 

3. ราคาก๊าซธรรมชาติที่ New Shipper ขายไฟฟ้าเข้าระบบใน Regulated Market 
• ราคา LNG (2) ค่าบริการสถานี LNG ในการเก็บรักษาและแปรสภาพก๊าซ
• ค่าบริการในการจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ 
• ค่าผ่านท่อก๊าซธรรมชาติบนบก (Zone 3) 

โดยที่ประชุมได้เห็นชอบให้มีการทบทวนพื้นที่ (Zone) ในการคิดค่าบริการตามการใช้ระบบท่อส่งก๊าซของ ผู้ซื้อก๊าซ โดยคำนวณค่าผ่านท่อก๊าซธรรมชาติพื้นที่ 1 ที่รวมค่าผ่านท่อในทะเลทั้งหมด ซึ่งนำค่าผ่านท่อก๊าซธรรมชาติของบริษัท ทรานส์ ไทย-มาเลเซีย (ประเทศไทย) จำกัด (TTM) นำมาคำนวณรวมในอัตราค่าผ่านท่อก๊าซธรรมชาติ   ในทะเลของ ปตท. ด้วย และกำหนดให้โครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติใหม่ มีผลบังคับใช้ภายใน 1 ปี ทั้งนี้ ระหว่างกำหนดอัตราค่าบริการจัดหาและค้าส่ง (S) และค่าผ่านท่อ (T) ตามโครงสร้างใหม่ ให้กำหนดอัตราค่าบริการจัดหาและค้าส่ง (ในแต่ละประเภทผู้ใช้ก๊าซ คิดตาม % Margin โดยคำนวณจากค่าเฉลี่ย (Pool Gas) ตามวิธีปัจจุบันและกำหนดค่าผ่านท่อ (T) สำหรับ Shipper รายใหม่ที่นำเข้า LNG เท่ากับอัตราค่าผ่านท่อบนบก (Zone 3 ซึ่งจะทำให้ค่าไฟฟ้าในภาพรวมลดลงประมาณ 56 ล้านบาทต่อเดือน หรือคิดเป็นค่า Ft ลดลงประมาณ 0.39 สตางค์/หน่วย
นอกจากนี้ที่ประชุม กพช. ยังได้เห็นชอบการนำเข้า Liquefied Natural Gas (LNG) ที่ไม่กระทบต่อ Take or Pay สำหรับ ปี 2564 -2566 เท่ากับ 0.48 1.74 และ 3.02 ล้านตันต่อปี ตามลำดับ โดยมอบหมายให้ กบง. พิจารณาทบทวนหากพบว่าปริมาณความสามารถในการนำเข้า LNG มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นจากตัวเลขดังกล่าว และมอบหมายให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เป็นผู้ดำเนินการจัดสรรปริมาณการนำเข้า LNG ตามโครงสร้างของกิจการก๊าซธรรมชาติ ในระยะที่ 2 คือ Regulated Market และ Partially Regulated Market สำหรับ New Demand และกำหนดหลักเกณฑ์ในการนำเข้าของ Shipper รวมทั้งกำกับดูแลต่อไป

นโยบายการเปิดเสรีก๊าซธรรมชาติ : ตอนที่ 1 : สัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตพลังงานไฟฟ้าของไทย

นโยบายการเปิดเสรีก๊าซธรรมชาติ ________________________________ ตอนที่ 1 : สัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตพลังงานไฟฟ้าของไทย ประเทศไทยมีการผลิตไฟฟ้าโดยใช้เชื้อเพลิงที่หลากหลาย เพื่อสร้างความมั่นคงทางไฟฟ้าของประเทศ โดยปัจจุบันมีการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า ในสัดส่วนประมาณ 60% ของเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด สัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงผลิตพลังงานไฟฟ้า (ในระบบของ กฟผ.) ปี 2564 สะสมเดือน 6 เดือน (มกราคม - มิถุนายน 2564) พบว่า เชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าส่วนใหญ่คือก๊าซธรรมชาติ จำนวน 58,513.78 ล้านกิโลวัตต์/ชั่วโมง หรือคิดเป็น ร้อยละ 59.77 จากการผลิตทั้งหมดที่ 97,909.25 ล้านกิโลวัตต์/ชั่วโมง รองลงมาเป็นเชื้อเพลิงถ่านหิน จำนวน 22,166.26 ล้านกิโลวัตต์/ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 22.64 พลังงานหมุนเวียน จำนวน 16,218.57 ล้านกิโลวัตต์/ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 16.56 น้ำมันเตา จำนวน 313.44 ล้านกิโลวัตต์/ชั่วโมง ร้อยละ 0.32 น้ำมันดีเซลจำนวน 97.76 ล้านกิโลวัตต์/ชั่วโมง ร้อยละ 0.10 และอื่น ๆ (สปป.ลาว มาเลเซีย ลำตะคองชลภาวัฒนา) จำนวน 599.44 ล้านกิโลวัตต์/ชั่วโมง หรือร้อยละ 0.61 ทั้งนี้ตัวเลขสัดส่วนดังกล่าว ไม่รวมผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็กมาก (Very Small Power Producer: VSPP) จากข้อมูลข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่าก๊าซธรรมชาติ เป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ซึ่งสอดคล้องกับรายงานของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เรื่องภาพรวมพลังงาน มกราคม - มิถุนายน 2564 ที่ระบุว่า การใช้ก๊าซธรรมชาติของไทยในช่วงเดือนมกราคม - มิถุนายน 2564 เท่ากับ 4,633 MMSCFD โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 60 ถูกนำไปเป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตไฟฟ้า รองลงมาใช้ในโรงแยกก๊าซ ในภาคอุตสาหกรรม และในภาคการขนส่ง (NGV) คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.7 16.8 และ 2.5 ตามลำดับ ที่มา : https://www.egat.co.th/index.php?option=com_content ... : http://www.eppo.go.th/.../ene.../Energy_Statistics/00All.pdf #สำนักงานกกพ. #ERCFocus



นโยบายการเปิดเสรีก๊าซธรรมชาติ : ตอนที่ 2 : รู้จักก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) พลังงานสะอาด มากประโยชน์

นโยบายการเปิดเสรีก๊าซธรรมชาติ ________________________________ ตอนที่ 2 : รู้จักก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) พลังงานสะอาด มากประโยชน์ LNG คืออะไร LNG ย่อมาจาก Liquefied Natural Gas คือ ก๊าซธรรมชาติ (Natural Gas: NG) ที่ถูกแปรสภาพจากสถานะก๊าซให้กลายเป็นของเหลว หรือ ก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) โดยลดอุณหภูมิลงจนเหลือประมาณ -160 องศาเซลเซียส โดยสาเหตุที่ต้องทำก๊าซธรรมชาติให้เป็น LNG หรือก๊าซธรรมชาติเหลวนั้น ก็เพื่อความสะดวกและปลอดภัยในการขนส่งไปยังที่ต่าง ๆ ที่มีระยะทางไกล ๆ LNG ถือเป็นก๊าซที่มีคุณภาพสะอาดมาก ด้วยคุณสมบัติสำคัญคือ เป็นก๊าซที่ไม่มีกลิ่น ไม่มีสี ไม่เป็นพิษ ไม่มีฤทธิ์กัดกร่อน ประโยชน์ของ LNG ก๊าซธรรมชาติเหลว หรือ LNG ถือเป็นก๊าซธรรมชาติรูปแบบหนึ่งที่อยู่ในสถานะของเหลว การใช้ประโยชน์จาก LNG ที่สำคัญ คือ ใช้เป็นเชื้อเพลิง ทั้งในส่วนของเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า, เชื้อเพลิงสำหรับยานยนต์ (NGV) รวมถึงเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรม และที่สำคัญ LNG ยังช่วยสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้ประเทศในระยะยาว รวมทั้งยังเป็นแหล่งพลังงานสำรองเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน อาทิ แหล่งผลิตในอ่าวไทยหยุดซ่อมบำรุง ด้วยเช่นกัน การนำเข้า LNG เนื่องจากแหล่งก๊าซธรรมชาติที่มีปริมาณมากจะอยู่ในประเทศทางแถบตะวันออกกลาง เช่น อิหร่าน กาตาร์ เยเมน โดยปกติการขนส่งก๊าซธรรมชาติจากแหล่งผลิตไปยังบริเวณที่ใช้ จะขนส่งด้วยระบบท่อ แต่ในกรณีที่ระยะทางระหว่างแหล่งผลิตกับบริเวณที่ใช้มีระยะทางไกลเกินกว่า 2,000 ก.ม. การขนส่งทางระบบท่อ จึงทำได้ยาก อีกทั้งยังใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง ดังนั้นจึงต้องมีการขนส่งด้วยเรือแทน โดยต้องทำก๊าซธรรมชาติให้กลายสภาพเป็นของเหลว (ที่เรียกว่า LNG) เสียก่อน ซึ่งจะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่าการขนส่งด้วยระบบท่อ ดังนั้นเรือที่ใช้ในการขนส่ง LNG จะต้องถูกออกแบบไว้เฉพาะพิเศษสาหรับขนส่ง LNG ซึ่งภายในจะต้องบุฉนวนอย่างดีเพื่อเก็บกัก LNG ให้คงสภาพของเหลวมากที่สุด ที่มา : http://www.pttlng.com/f_content.aspx?str=iL19F8K%2f9NYIgmpxepXNig%3d%3d : http://www.eppo.go.th/.../ene.../Energy_Statistics/00All.pdf #สำนักงานกกพ. #ErcFocus

นโยบายการเปิดเสรีก๊าซธรรมชาติ : ตอนที่ 3 : ปริมาณการนำเข้า LNG ปี 2564 – 2566

นโยบายการเปิดเสรีก๊าซธรรมชาติ

________________________________

ตอนที่ 3 : ปริมาณการนำเข้า LNG ปี 2564 – 2566

ความคืบหน้าล่าสุดของการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ของประเทศไทย คือเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ หรือ กพช. ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้พิจารณาเห็นชอบการนำเข้า Liquefied Natural Gas (LNG) ที่ไม่กระทบต่อ Take or Pay สำหรับ ปี 2564 -2566 เท่ากับ 0.48 1.74 และ 3.02 ล้านตันต่อปี ตามลำดับ โดยมอบหมายให้ กบง. พิจารณาทบทวนหากพบว่าปริมาณความสามารถในการนำเข้า LNG มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นจากตัวเลขดังกล่าว และมอบหมายให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เป็นผู้ดำเนินการจัดสรรปริมาณการนำเข้า LNG ตามโครงสร้างของกิจการก๊าซธรรมชาติ ในระยะที่ 2 คือ Regulated Market และ Partially Regulated Market สำหรับ New Demand และกำหนดหลักเกณฑ์ในการนำเข้าของ Shipper รวมทั้งกำกับดูแลต่อไป

อ้างอิง : https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=5919359791439475&id=951112324930938

#สำนักงานกกพ.

#ErcFocus




นโยบายการเปิดเสรีก๊าซธรรมชาติ : ตอนที่ 4 : ทำไมต้องเปิดเสรีก๊าซ

นโยบายการเปิดเสรีก๊าซธรรมชาติ 

__________________________________

ตอนที่ 4 : ทำไมต้องเปิดเสรีก๊าซ

กรอบแนวคิดและเป้าหมาย แผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ พ.ศ. 2561 - 2580 (Gas Plan 2018) เป็นการวางแผนการจัดหาก๊าซธรรมชาติให้เพียงพอกับความต้องการใช้ของประเทศในราคาที่เป็นธรรม รวมทั้ง บริหารจัดการระบบโครงสร้างพื้นฐานให้มีความมั่นคงและมีประสิทธิภาพ รองรับการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม โดยคำนึงถึงสมดุลสิ่งแวดล้อม โดยวางเป้าหมายการดำเนินงานใน 4 ด้านสำคัญ ประกอบด้วย

(1) ส่งเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติในภาคเศรษฐกิจต่างๆ เพื่อลดปัญหามลพิษทางอากาศ
(2) เร่งรัดการสำรวจและผลิตก๊าซธรรมชาติจากแหล่งปิโตรเลียมภายในประเทศ พื้นที่พัฒนาร่วม และพื้นที่ทับซ้อน
(3) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานก๊าซธรรมชาติให้เหมาะสมและเพียงพอกับความต้องการใช้ในระดับ ภูมิภาค รวมทั้งใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานก๊าซธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ
(4) ส่งเสริมการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ

เป้าประสงค์ของ Gas Plan 2018 เพื่อบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติให้ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนทางด้านพลังงาน เนื่องจากก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลักที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า ให้มีเสถียรภาพและทำให้ประชาชนมีไฟฟ้าใช้อย่างทั่วถึง รวมทั้งสามารถเพิ่มมูลค่าก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยได้ จากอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็น Regional LNG Hub จะช่วยผลักดันให้เกิดการ ขยายตัวทางเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงสะอาดซึ่งจะช่วยลดการปล่อยมลพิษทางอากาศ จากกรอบแนวคิด เป้าหมาย และเป้าประสงค์ของ Gas Plan 2018 สามารถวางแผนดำเนินงาน โดยมีเป้าหมายการดำเนินงาน และหน่วยงานรับผิดชอบ

- เปิดเสรีก๊าซ ระยะที่ 1 : การทดสอบนำเข้า LNG แบบ Spot ของ กฟผ.
เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2560 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้เห็นชอบหลักการและแนวทางการดำเนินงานระยะที่ 1 โครงการนำร่อง และรับทราบหลักการและแนวทางการดำเนินงานระยะที่ 2 และระยะที่ 3 โดยมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปศึกษาการดำเนินการเพื่อเข้าสู่ระยะที่ 2 และระยะที่ 3 และให้นำกลับมานำเสนอคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) และ กพช. พิจารณาให้ความเห็นชอบตามลำดับต่อไป
ต่อมาเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2562 กบง. ได้เห็นชอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ทดสอบนำเข้า LNG แบบตลาดจร (Spot) จำนวน 2 ลำเรือ ปริมาณรวมไม่เกิน 200,000 ตัน ซึ่งเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2562 และวันที่ 21 เมษายน 2563 กฟผ. ได้นำเข้า LNG แบบ Spot 2 ลำเรือ ปริมาณ 65,000 ตันต่อลำเรือ โดยนำก๊าซที่แปรสภาพแล้วไปใช้ในโรงไฟฟ้าบางปะกงชุดที่ 5 โรงไฟฟ้าวังน้อยชุดที่ 4 และโรงไฟฟ้าพระนครใต้ชุดที่ 4 และคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้รายงานผลการนำเข้าให้ กบง. รับทราบแล้วเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563

ที่มา
http://www.eppo.go.th/.../public.../PDF/Gasplan2018.pdf
http://www.eppo.go.th/.../com.../k2/item/16386-cepa-prayut21

#สำนักงานกกพ.
#ErcFocus 

ดูน้อยลง




นโยบายการเปิดเสรีก๊าซธรรมชาติ : ตอนที่ 5 : แนวทางการส่งเสริมการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ 2

นโยบายการเปิดเสรีก๊าซธรรมชาติ 
____________________________

ตอนที่ 5 : แนวทางการส่งเสริมการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ 2

วันที่ 1 เมษายน 2564 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่มีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีมติเห็นชอบแนวทางการส่งเสริมการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ 2 ตามที่คณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กบง.) เสนอ โดยแบ่งออก 2 กลุ่ม คือ

1. กลุ่มที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ตามแนวทางที่คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) และ กพช. กำหนด (Regulated Market) ซึ่งประกอบด้วย ผู้ใช้ก๊าซธรรมชาติจาก Old Supply และ Shipper ที่จัดหา LNG เพื่อนำมาใช้กับภาคไฟฟ้าที่ขายเข้าระบบ ดังนี้
- ผู้ใช้ก๊าซธรรมชาติจาก Old Supply มอบหมายให้ ปตท. บริหารจัดการ Old Supply ซึ่งประกอบด้วยก๊าซธรรมชาติจากแหล่งในประเทศ รวมพื้นที่พัฒนาร่วม ไทย-มาเลเซีย (JDA) แหล่งจากเมียนมา และ LNG ที่นำเข้าสัญญาเดิม (5.2 ล้านตัน/ปี) รวมทั้งกำหนดให้ก๊าซในอ่าวไทยต้องนำมาใช้ในโรงแยกก๊าซก่อน และให้ ปตท. เปิดประมูล LNG Spot Flexible ราคาถูกกว่า Pool Gas ภายใต้กำกับของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ. ทั้งด้านปริมาณและเงื่อนไข
- การกำหนดหลักเกณฑ์สัญญาซื้อขายก๊าซจาก Old Demand (ลูกค้าอุตสาหกรรม, NGV, IPPs, SPPs, VSPPs และ กฟผ.) ให้ขายก๊าซให้แก่ผู้ใช้ก๊าซตามสัญญาและเงื่อนไขเดิม (Pool Gas) และให้ศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าแห่งชาติ (National Control Center: NCC) สั่งเดินเครื่องโรงไฟฟ้าตามวิธีการปัจจุบัน (must run, must take และ merit order)
- Shipper รายใหม่ จัดหา LNG ให้กับโรงไฟฟ้าที่ขายเข้าระบบ โดยจัดหา LNG ที่เป็น New Supply นอกเหนือจาก Old Supply ภายใต้การกำกับของ กกพ. ตามเงื่อนไขที่ กบง./กพช.กำหนด สัญญาระยะยาว เป็นไปตามหลักเกณฑ์ LNG Benchmark และ กบง. พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนการดำเนินการสัญญา Spot ให้ไม่เกินราคา JKM adjust by freight cost* ภายใต้การกำกับของ กกพ. ทั้งด้านปริมาณและช่วงเวลา และให้ NCC สั่งเดินเครื่องโรงไฟฟ้าตาม heat rate และส่งผ่านราคาเชื้อเพลิงเข้าค่าไฟฟ้าทั้งหมด
- ด้านโครงสร้างราคาก๊าซให้เป็นไปตาม กบง./กพช. กำหนด ประกอบด้วย ราคาเนื้อก๊าซ ค่าบริการสถานี LNG ค่าบริการในการจัดหาและค้าส่งก๊าซ อัตราค่าผ่านท่อก๊าซ และอัตราค่าผ่านท่อก๊าซสำหรับ Shipper รายใหม่ ให้คำนวณเฉพาะค่าผ่านท่อบนบกเท่านั้น

2. กลุ่มที่จัดหา LNG เพื่อใช้กับโรงไฟฟ้าที่ไม่ได้ขายไฟฟ้าเข้าระบบ ภาคอุตสาหกรรมและกิจการของตนเอง (Partially Regulated Market) ดังนี้
- Shipper รายใหม่ จัดหา LNG ให้กับโรงไฟฟ้าตนเองหรือใช้ในภาคอุตสาหกรรม โดยจัดหา LNG ที่เป็น New Supply นอกเหนือจาก Old Supply ภายใต้การกำกับของ กกพ. ด้านปริมาณและคุณภาพการให้บริการ

การดำเนินการตามแนวทางการส่งเสริมการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ 2 กำหนดให้ LNG Terminal และท่อส่งก๊าซฯ เปิดให้บุคคลที่ 3 เข้ามาใช้และเชื่อมต่อได้ และกำหนดให้ ปตท. แยกธุรกิจท่อเป็น TSO เป็นนิติบุคคล ให้แล้วเสร็จภายใน 15 เดือน เมื่อได้ข้อยุติเรื่องการแบ่งแยกทรัพย์สินของ ปตท. แล้ว รวมถึงให้ ปตท. ทำหน้าที่ในการควบคุมคุณภาพก๊าซธรรมชาติและแยกก๊าซธรรมชาติ และมอบหมายให้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ (ชธ.) และ ปตท. กำหนดปริมาณการนำเข้า LNG ภายใต้การกำกับของ กกพ. และให้ กกพ. บริหารความสามารถของ LNG Terminal และทบทวนความเหมาะสมของ TPA Regime และ TPA Code

ทั้งนี้ ให้ กกพ. เป็นผู้ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในการพิจารณาการดำเนินงานให้เป็นไปตามรูปแบบการส่งเสริมการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ 2

ที่มา
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=5300171576691636&id=951112324930938

#สำนักงานกกพ.
#ErcFocus

นโยบายการเปิดเสรีก๊าซธรรมชาติ : ตอนที่ 6 : การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานก๊าซธรรมชาติ เพื่อรองรับโครงการโรงไฟฟ้าตามแผน PDP 2018 (Rev.1)

นโยบายการเปิดเสรีก๊าซธรรมชาติ
____________________________
ตอนที่ 6 : การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานก๊าซธรรมชาติ
เพื่อรองรับโครงการโรงไฟฟ้าตามแผน PDP 2018 (Rev.1)
การประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่มี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2564 มีมติเห็นชอบการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานก๊าซธรรมชาติเพื่อรองรับโครงการโรงไฟฟ้าตามแผน PDP 2018 (Rev.1) จากศักยภาพของโครงข่ายระบบท่อส่งก๊าซฯ และ LNG Terminal ทั้งที่มีอยู่ และที่อยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสม โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานฯ เพื่อรองรับโรงไฟฟ้าในเขตนครหลวง 5,420 MW โดยให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ปรับรูปแบบการลงทุนจากโครงการ FSRU ในพื้นที่อ่าวไทยตอนบน (F-1) ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2560 เป็นร่วมลงทุนกับ ปตท. สัดส่วน 50 : 50 ในโครงการ LNG Receiving Terminal (แห่งที่ 2) ต.หนองแฟบ จ. ระยอง ขนาด 7.5 MTPA และเห็นชอบให้ ปตท. เป็นผู้ดำเนินการโครงการระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบกจากบางปะกงไปโรงไฟฟ้าพระนครใต้เพื่อรองรับโรงไฟฟ้าตามแผน PDP2018 (Rev.1) และยกเลิกสถานีเพิ่มความดันก๊าซฯ (Compressor) บนระบบท่อส่งราชบุรี-วังน้อย และโครงการสถานีเพิ่มความดันก๊าซฯ (Compressor) กลางทาง บนระบบท่อส่งบนบก เส้นที่ 5
#สำนักงานกกพ. #ERCFocus

นโยบายการเปิดเสรีก๊าซธรรมชาติ : ตอนที่ 7 : บทบาท กกพ. ในการส่งเสริมการเปิดเสรีก๊าซธรรมชาติ

นโยบายการเปิดเสรีก๊าซธรรมชาติ 

____________________________

ตอนที่ 7 : บทบาท กกพ. ในการส่งเสริมการเปิดเสรีก๊าซธรรมชาติ


บทบาท กกพ. ในการเปิดเสรีก๊าซระยะที่ 1
กรกฎาคม 2560 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เห็นชอบหลักการและแนวทางการดำเนินงานระยะที่ 1 โครงการนำร่อง ต่อมาในเดือนตุลาคม 2562 คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้เห็นชอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ทดสอบนำเข้า LNG แบบตลาดจร (Spot) จำนวน 2 ลำเรือ ปริมาณรวมไม่เกิน 200,000 ตัน ซึ่งเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2562 และวันที่ 21 เมษายน 2563 กฟผ. ได้นำเข้า LNG แบบ Spot 2 ลำเรือ ปริมาณ 65,000 ตันต่อลำเรือ โดยนำก๊าซที่แปรสภาพแล้วไปใช้ในโรงไฟฟ้าบางปะกงชุดที่ 5 โรงไฟฟ้าวังน้อยชุดที่ 4 และโรงไฟฟ้าพระนครใต้ชุดที่ 4 และคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) โดยสำนักงาน กกพ. ที่ได้รับมอบหมายให้กำกับดูแล ได้ใช้โครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติตามมติ กพช.ในการประชุมครั้งที่ 5/2562 ซึ่งเป็นโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติเพื่อรองรับการทดลองนำเข้า LNG แบบ Spot ของ กฟผ. พร้อมทั้งตรวจสอบปริมาณการใช้ LNG ของโรงไฟฟ้าที่กำหนดจากการนำเข้า LNG แบบ Spot ของ กฟผ. และได้รายงานผลการนำเข้าให้ กบง. รับทราบแล้วเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563

บทบาท กกพ. ต่อการเปิดเสรีก๊าซ ฯ ระยะที่ 2
คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) มีมติจากการประชุมวันที่ 4 สิงหาคม 2564 มอบหมายให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เป็นผู้ดำเนินการจัดสรรปริมาณการนำเข้า LNG ตามโครงสร้างของกิจการก๊าซธรรมชาติ ในระยะที่ 2 คือ Regulated Market และ Partially Regulated Market สำหรับ New Demand และกำหนดหลักเกณฑ์ในการนำเข้าของ Shipper รวมทั้งกำกับดูแลต่อไป และให้ กกพ. เป็นผู้ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในการพิจารณาการดำเนินงานให้เป็นไปตามรูปแบบการส่งเสริมการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ 2


ทั้งนี้จากผลการดำเนินโยบายเปิดเสรีก๊าซในช่วงที่ผ่านมา คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ยังดำเนินการนำรายได้จากการส่งออก LNG (Reloading) ของ ปตท. ส่งภาครัฐประมาณ 580 ล้านบาท เพื่อไปลดราคาค่าก๊าซธรรมชาติ สะท้อนถึงการบริหารจัดการก๊าซให้สมดุล และต้นทุนค่าไฟฟ้าที่ไม่เป็นภาระต่อประชาชน 




ที่มา
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=5300171576691636&id=951112324930938
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=5919359791439475&id=951112324930938

#สำนักงานกกพ.

ไขข้อข้องใจ : ทำไมค่าเอฟที งวดเดือน ม.ค. - เม.ย. 65 ถึงปรับเพิ่มขึ้น ?

ไขข้อข้องใจ : ทำไมค่าเอฟที งวดเดือน ม.ค. - เม.ย. 65 ถึงปรับเพิ่มขึ้น ?

ค่า Ft งวดเดือน ม.ค. - เม.ย. 2565 ปรับเพิ่มขึ้น มาจาก 4 สาเหตุ

1. ราคาก๊าซธรรมชาติปรับตัวสูงขึ้นตามภาวะราคาพลังงานในตลาดโลก

2. ปริมาณนำเข้า LNG

3. การนำเข้าพลังงานไฟฟ้าจากต่างประเทศ

4. อัตราแลกเปลี่ยนที่อ่อนค่าลง 

ทั้งนี้ กกพ. ช่วยเหลือประชาชนโดยนำเงินบริหารจัดการค่าไฟ 18,640 ล้านบาท ปรับขึ้นค่าเอฟทีเหลือเพียง 16.71 สตางค์/หน่วย บรรเทาการขึ้นค่าไฟ ทำให้ค่าไฟเดือน ม.ค. - เม.ย. 65 เฉลี่ยอยู่ที่ 3.78 บาทต่อหน่วย




ERC Focus พามาดู 12 Hot Issue ทำไมราคาน้ำมันช่วงนี้ถึงมีราคาสูง

ERC Focus พามาดู 12 Hot Issue ทำไมราคาน้ำมันช่วงนี้ถึงมีราคาสูง
“กระทรวงพลังงาน” ตอบทุกข้อสงสัย เรื่องคาใจราคาน้ำมัน

Q : จริงหรือน้ำมันไทยแพงที่สุดในโลก ?

A : ไม่เป็นความจริง เพราะราคาน้ำมันสำเร็จรูปในไทย เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคอาเซียน ราคาของไทยจะอยู่ในระดับกลางๆ ซึ่งราคาขายน้ำมันสำเร็จรูปแต่ละประเทศจะขึ้นอยู่กับโครงสร้างด้านราคาของประเทศนั้นๆ เป็นส่วนประกอบสำคัญ และแต่ละประเทศก็มีมาตรการด้านภาษี ระบบการเก็บเงินเข้ากองทุน คุณภาพน้ำมัน ที่แตกต่างกันออกไป นอกจากนี้ในบางประเทศที่มีแหล่งน้ำมันขนาดใหญ่เป็นของตัวเอง ยังมีการอุดหนุนราคา ทำให้สามารถขายได้ ในราคาที่ต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้าน

อ้างอิง : https://web.facebook.com/275950142474286/photos/a.280591128676854/4670443913024865/ 



4 ปัจจัย ที่มีผลต่อการคิดอัตราค่าไฟฟ้า

1. ความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน สำหรับประเทศที่มีความพร้อมในโครงสร้างพื้นฐานและเสถียรภาพของระบบไฟฟ้า จะมีการนำงบประมาณที่เหลือจากการพัฒนาประเทศ มาใช้ในการประคับประคองค่าไฟให้ถูกลงจากเดิม เพื่อไม่ให้เป็นภาระกับประชาชนมากจนเกินไป และสามารถทำให้ประชาชนทั่วไปเข้าถึงระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานได้มากขึ้น
2. สภาพทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมในการสร้างโรงไฟฟ้า และศักยภาพแหล่งพลังงานในประเทศ เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการคิดอัตราค่าไฟมากพอสมควร หากลักษณะพื้นที่ภายในประเทศเอื้อต่อการสร้างโรงงานผลิต ก็จะสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้มากขึ้น ลดการนำเข้าพลังงานไฟฟ้าจากประเทศอื่น ค่าไฟจึงถูกลง แต่ถ้าพื้นที่ภายในประเทศไม่เหมาะสำหรับการตั้งโรงงานผลิต ก็จะต้องมีการซื้อพลังงานไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน ทำให้ค่าไฟที่ต้องจ่ายมีตัวเลขที่ค่อนข้างสูง
3. เชื้อเพลิงที่ใช้ ในขั้นตอนการผลิตจะต้องมีการใช้เชื้อเพลิงชนิดต่างๆในการผลิตพลังงานไฟฟ้าหากเชื้อเพลิงมีราคาต่ำ ก็จะสามารถกำหนดอัตราค่าไฟได้ต่ำเช่นกัน ซึ่งเชื้อเพลิงที่มีราคาต่ำที่สุดก็จะเป็นถ่านหิน แต่ก็มีปัญหาตามมาอีกหลายอย่าง โดยเฉพาะปัญหาสิ่งแวดล้อม ทำให้หลายประเทศหันมาใช้ก๊าซธรรมชาติ และพลังงานหมุนเวียนอื่นๆในการผลิตพลังงานไฟฟ้าแทน
4. นโยบายภาครัฐและภาคพลังงาน เป็นการกำหนดทิศทางพลังงานในประเทศ โดยสามารถให้บริการไฟฟ้าแก่ทางประชาชนได้อย่างทั่วถึง

ส่อง "แอร์" ใช้แบบไหนค่าไฟไม่พุ่ง

ตอนนี้ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่ฤดูร้อนแล้ว รู้หรือไม่ว่า ช่วงฤดูร้อน คอมเพรสเซอร์จะทำงานมากกว่าปกติ ทั้งที่ตั้งอุณหภูมิเท่าเดิม ส่งผลให้หน่วยการใช้ไฟมากขึ้นด้วยเช่นกัน

วันนี้กระทรวงพลังงานจึงยกตัวอย่างในการคำนวณหาค่าไฟ กับเครื่องปรับอากาศ 3 ขนาดที่แตกต่างกัน โดยเปิดแอร์แต่ละตัว วันละประมาณ 8 ชั่วโมง ในระยะเวลา 1 วัน จะเสียค่าไฟเท่าไร มาดูกันครับ

แอร์ตัวแรก : ขนาด 1,200 วัตต์ ÷ 1,000 x 8 ชม. x 4 บาท = 38.40 บาท
แอร์ตัวที่สอง : ขนาด 1,800 วัตต์ ÷ 1,000 x 8 ชม. x 4 บาท = 57.60 บาท
แอร์ตัวที่สาม : ขนาด 2,400 วัตต์ ÷ 1,000 x 8 ชม. x 4 บาท = 76.80 บาท

ถือว่าค่อนข้างเยอะเลยทีเดียวนะครับ นี่ยังไม่นับรวมกับค่าไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านชนิดอื่นๆ เลยด้วยซ้ำครับ  

จึงอยากชวนทุกท่าน ร่วมกันประหยัดพลังงาน ซึ่งก็เท่ากับประหยัดเงินในกระเป๋าของเราด้วยอีกทาง ด้วยการเลือกใช้แอร์ที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 และเลือกให้เหมาะกับขนาดห้อง ปรับอุณหภูมิให้เหมาะสมที่ 25 องศา แล้วก็ต้องปิดประตูหน้าต่างให้สนิทเพื่อไม่ให้ความร้อนจากภายนอกเข้ามา และไม่ให้ความเย็นรั่วไหลออกนอกห้อง หรือใช้ม่านกั้นประตู/หน้าต่าง เพื่อป้องกันความร้อนจากแสงแดดภายนอก เปิดพัดลมช่วย ร่วมกับการเปิดแอร์ และทำความสะอาดล้างแอร์อย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยทุก 6 เดือน เท่านี้ก็จะช่วยให้แอร์ในบ้านเรา ไม่ทำงานหนักมากขึ้นแล้วครับ  
 
#workfromhome #อยู่บ้านหยุดเชื้อเพื่อชาติ #Covid19 #พลังงานเพื่อทุกคน #EnergyForAll #มีพลังงานมีความสุข #กระทรวงพลังงาน #MinistryofEnergy #MoEN

อ้างอิง https://www.facebook.com/100064822115445/posts/326119996225402/



สำนักงาน กกพ. เชิญชวนประชาชนร่วมประหยัดพลังงาน ตามมาตรการ 4 ป. ลดค่าไฟรับหน้าร้อน

สำนักงาน กกพ. เชิญชวนประชาชนร่วมประหยัดพลังงาน ตามมาตรการ 4 ป. ลดค่าไฟรับหน้าร้อน



ERC Focus แนะใช้เครื่องปรับอากาศให้ถูกวิธี

ERC Focus เชิญชวนประชาชนร่วมกันประหยัดไฟฟ้าลดใช้พลังงาน ช่วยลดโลกร้อนไปด้วยกัน  มาช่วยกันเป็นส่วนหนึ่งในการประหยัดพลังงานกันเยอะ ๆ โดยวันนี้ขอแนะนำการใช้เครื่องปรับอากาศให้ถูกวิธี





ERC Focus แนะทริกปรับตั้งค่าเครื่องปรับอากาศ เพื่อประหยัดไฟฟ้า

ERC Focus ชวนมารู้จักการปรับตั้งค่าเครื่องปรับอากาศ เพื่อประหยัดการใช้ไฟฟ้า อย่างมีประสิทธิภาพ

เริ่มด้วยการประหยัดไฟฟ้า ช่วยชาติไปด้วยกัน เริ่มได้ที่ตัวคุณ





กกพ. แจ้งมาตรการช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้าในเขตพื้นที่ประสบอุทกภัย

กกพ. แจ้งมาตรการช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้าในเขตพื้นที่ประสบอุทกภัย
.
คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เน้นย้ำการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย ดำเนินมาตรการช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้าที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่ประสบอุทกภัยอันเนื่องจากฝนที่ตกสะสมต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงเดือนกันยายน 2565 เพื่อคุ้มครองสิทธิผู้ใช้ไฟฟ้าเกี่ยวกับการเรียกเก็บค่าไฟฟ้า ค่าบริการ และค่าธรรมเนียม ตลอดจนด้านความปลอดภัยของผู้ใช้ไฟฟ้า
.
เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ได้มีหนังสือแจ้งการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย (การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และกิจการไฟฟ้า สวัสดิการสัมปทานกองทัพเรือ (กฟส.)) เพื่อเน้นย้ำแนวทางการช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้าในเขตพื้นที่ประสบอุทกภัยเกี่ยวกับการเรียกเก็บค่าไฟฟ้า ค่าบริการ และค่าธรรมเนียม ในช่วงเดือนที่เกิดอุทกภัย ซึ่งเป็นไปตามมติ กกพ. ในปี 2554 และ 2560 โดยให้การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย พิจารณาออกหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการให้สอดคล้องกับแนวทางการช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้าในเขตพื้นที่ประสบอุทกภัย ตามมติ กกพ. ดังนี้
 1. กรณีผู้ใช้ไฟฟ้าที่ถูกเรียกเก็บค่าไฟฟ้าในเดือนที่อาจจะไม่ได้ใช้ไฟฟ้าอันเนื่องมาจากอยู่ในเขตพื้นที่ประสบอุทกภัย และเป็นการเรียกเก็บที่เกิดจากการใช้ค่าเฉลี่ยของการใช้ไฟฟ้าในเดือนที่เกิดอุทกภัยรวมกับเดือนถัดมานั้น ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถแจ้งการไฟฟ้าเพื่อให้พิจารณาตรวจสอบและแยกเรียกเก็บตามจริงได้ ทั้งนี้ หากไม่มีหน่วยการใช้ไฟฟ้าในรอบเดือนที่เกิดอุทกภัย ก็จะได้รับการยกเว้นค่าบริการ
 2. กรณีที่มีค่าไฟฟ้าถูกเรียกเก็บ สูงกว่าปริมาณการใช้ไฟฟ้าจริง อันเนื่องมาจากไฟฟ้ารั่ว ผู้ใช้ไฟฟ้าในเขตพื้นที่ประสบอุทกภัย สามารถขอให้การไฟฟ้าพิจารณาและตรวจสอบ หากพบว่ามีไฟฟ้ารั่วอันเนื่องจากเหตุอุทกภัย ก็ให้มีการพิจารณาดำเนินการคืนค่าไฟฟ้าส่วนเกินตามความเหมาะสม
 3. กรณีที่มีการงดจ่ายไฟฟ้าและเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการต่อกลับมิเตอร์ไฟฟ้าที่เกิดจากผู้ใช้ไฟฟ้าไม่ได้รับใบแจ้งหนี้ในช่วงเกิดเหตุอุทกภัย หรือไม่สามารถชำระค่าไฟฟ้าอันเนื่องมาจากเหตุอุทกภัย ให้ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถยื่นคำร้องเพื่อให้การไฟฟ้าตรวจสอบ และคืนเงินค่าธรรมเนียมการต่อกลับมิเตอร์ไฟฟ้าได้
 ทั้งนี้ โดยให้การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายใช้แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการเรียกเก็บค่าไฟฟ้า ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมดังกล่าวร่วมกับมาตรการด้านความปลอดภัยของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย รวมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้ไฟฟ้าและประชาชนทั่วไปได้รับทราบ เพื่อให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เรื่อง คำประกาศสิทธิผู้ใช้บริการไฟฟ้า พ.ศ. 2565 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ใช้บริการไฟฟ้าและประชาชนทั่วไปได้รับประโยชน์สูงสุดจากการให้บริการไฟฟ้า และมีสิทธิได้รับการคุ้มครองความปลอดภัยจากการให้บริการไฟฟ้า ตลอดจนตระหนักถึงสิทธิของตนที่จะได้รับการคุ้มครองและการรับรองสิทธิในฐานะผู้บริโภคด้านพลังงาน ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550
.
อนึ่ง ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย สามารถติดต่อการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายเพื่อแจ้งเหตุไฟฟ้าขัดข้อง หรือขอความช่วยเหลือเกี่ยวกับไฟฟ้า รวมถึงสอบถามรายละเอียดหลักเกณฑ์การช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้าในเขตพื้นที่ประสบอุทกภัยได้ ดังนี้
 1. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) PEA Smart Plus Application หรือ PEA Call Center โทร. 1129 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือแจ้งได้ที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในพื้นที่ใกล้บ้าน
 2. การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) MEA Smart Life Application หรือช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ ได้แก่ Facebook : การไฟฟ้านครหลวง MEA, Line : MEA Connect, Twitter: @mea_news หรือแจ้งได้ที่การไฟฟ้านครหลวงในพื้นที่ใกล้บ้าน และ MEA Call Center โทร. 1130 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
 3. กิจการไฟฟ้า สวัสดิการสัมปทานกองทัพเรือ (กฟส.) โทร. 0-3843-7766 แจ้งไฟฟ้าดับ โทร. 0-3843-7766, 0-3843-9040, 08-0483-5476, 09-8855-8650 Line : @sea.co.th
#กกพ 
#สำนักงานกกพ 
#ERC
#OERC



เลือกผลิตภัณฑ์สร้างบ้านอย่างไร ให้บ้านประหยัดพลังงานไฟฟ้า

ทำความรู้จักและวิธีการเลือกผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการติดฉลาก
ประหยัดพลังงานประสิทธิภาพสูง เพื่อช่วยลดอุณหภูมิบ้าน
ทำให้ประหยัดไฟฟ้าจากการใช้เครื่องปรับอากาศอีกด้วย
#OERC
#ERC
#สำนักงานกกพ
#รวมพลังคนไทยลดใช้พลังงานหาร2
#ลดการใช้ไฟฟ้ารับมือวิกฤตพลังงาน
#ประหยัดพลังงานง่ายนิดเดียว



กกพ. บริหารจัดการค่าเอฟที ช่วยเหลือประชาชน

กกพ. บริหารจัดการค่าเอฟที ช่วยเหลือประชาชน

1. มาตรการการบริหารการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าที่ใช้น้ำมันดีเซลและน้ำมันเตา ร่วมกับมาตรการ “Energy Pool Price”
.
2. ปรับลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลและน้ำมันเตาเพื่อทำให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ผลิตไฟฟ้าอยู่ในราคาที่เหมาะสม
.
3. รับซื้อไฟฟ้าพลังงานทดแทนเพิ่มเติมจาก
กลุ่มโรงไฟฟ้าที่มีความพร้อมจ่ายไฟฟ้า
.
4. รับซื้อไฟฟ้าพลังน้ำจาก สปป. ลาว โครงการโรงไฟฟ้าน้ำเทิน
.
#ERC
#OERC
#สำนักงานกกพ



“กกพ.” หนุน “ติดตั้งโซลาร์รูฟ ให้การไฟฟ้าฯ เชื่อมต่อใน 30 วัน” พร้อมดูแลครบวงจร

“กกพ.” หนุน “ติดตั้งโซลาร์รูฟ ให้การไฟฟ้าฯ เชื่อมต่อใน 30 วัน” พร้อมดูแลครบวงจร

      “กกพ.” จับมือการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายปรับลดขั้นตอนการจดแจ้งยกเว้นฯ และเชื่อมต่อหลังติดตั้งโซลาร์ให้สามารถเชื่อมต่อได้ใน 30 - 60 วัน พร้อมให้สำนักงาน กกพ. ประจำเขต ให้คำแนะนำด้านการติดตั้ง การดูแล และกำจัดอุปกรณ์และแผงโซลาร์ใช้แล้ว เพื่อให้เกิดการใช้พลังงานทดแทนอย่างยั่งยืนในทุกมิติ
.
       นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) เปิดเผยว่า สำนักงาน กกพ. ร่วมกับการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ปรับปรุงขั้นตอน
โดยให้การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายตรวจสอบการเชื่อมต่อให้สามารถจ่ายไฟฟ้าและใช้งานอุปกรณ์ได้ภายใน 30 วันนับจาก ที่ได้รับแจ้ง โดยจากเดิมรวมทุกขั้นตอนใช้เวลาประมาณ 90 – 135 วัน

กกพ. ฟังเสียงประชาชน เคาะค่าเอฟที 98.27 สตางค์ต่อหน่วย

ในการประชุม กกพ. เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2566 มีมติรับทราบผลการรับฟัง ความคิดเห็นค่า Ft และหนังสือยืนยันจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ถึงความเหมาะสมของอัตราเดียวกัน สำหรับบ้านที่อยู่อาศัย และผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทอื่นๆ เท่ากับ 98.27 สตางค์ต่อหน่วย ทำให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.77 บาทต่อหน่วย