“สุพัฒนพงษ์” สั่ง ปตท. ศึกษาแผนซื้อก๊าซ-น้ำมันจากรัสเซีย

เร่งหาทางแก้วิกฤติรัสเซีย-ยูเครน “สุพัฒนพงษ์” สั่ง “ปตท.” เร่งแผนศึกษาซื้อก๊าซ-น้ำมันจากรัสเซีย หลังรัสเซียให้ส่วนลดเส้นทางเอเชีย 7-10% หวังลดผลกระทบราคาพลังงานพุ่ง ราคาสินค้าปรับอีก 10-20%

วันที่ 25 มี.ค. 2565 นายดิษทัต ปันยารชุน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวในงานเสวนาทางวิชาการเรื่อง สงครามยูเครนกับวิกฤติพลังงานของไทย ทางเลือก ทางรอด ที่ต้องรู้ จัดโดยชมรมวิชาการพลังงาน (ชวพน.) ว่า จากสถานการณ์ราคาพลังงานโลกที่สูงส่งผลต่อค่าครองชีพประชาชน นายสุพัฒนพงษ์ พันธุ์มีเชาวน์ รองนายกรัฐมนตรี มอบหมายให้ให้ ปตท.ศึกษาแผนเพื่อซื้อก๊าซธรรมชาติหรือน้ำมันจากรัสเซียได้หรือไม่ เพื่อความมั่นคงทางพลังงาน เนื่องจากรัสเซียประกาศลดราคา discount ลด 20% เส้นทางยุโรป แต่เมื่อมาทางเอเชียอาจจะลดได้ที่ 7-10% ซึ่งปตท.อยู่ระหว่างกำลังทำการบ้านว่าจะทำอย่างไร ประกอบกับดูเรื่องการแซงชั่น และหาแผนลดผลกระทบวิกฤตพลังงานเพิ่มเติมด้วย
ทั้งนี้ ประเทศไทยเป็นประเทศที่ต้องนำเข้า 80% ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องได้รับผลกระทบจากราคาพลังงานโลกที่สูงขึ้น โดยปัจจุบันประเทศไทย มีแหล่งจัดหาน้ำมันหลักมาจาก ตะวันออกกลาง 55% และตะวันออกไกล และมาจากสหรัฐอเมริกาด้วย ดังนั้น ไทยจึงไม่มีผลกระทบตรงจากรัสเซียแต่น้ำมันสามารถป้อนที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้

ส่วนก๊าซธรรมชาติแม้ไทยผลิตเองแต่น้อยและต้องนำเข้าเช่นกัน กรณีก๊าซธรรมชาติจึงมีผลกระทบตามไปด้วย โดยรัสเซียส่งออกก๊าซธรรมชาติไปยังยุโรป ซึ่งแม้ว่ารัสเซียมีเงื่อนไขแต่ถึงอย่างไรยุโรปยังมีเป้าหมายจัดหาพลังงานเพื่อความมั่นคง หรืออาจจะเกิดการแซงชั่นในอนาคต ก็ยังมุ่งเน้นยึดคงามมั่นคงทางพลังงานเป็นประการแรก

หากย้อนไปปีที่ผ่านมา ก่อนเกิดภาวะสงครามรัสเซีย ยูเครน ราคาน้ำมันอยู่ที่ 70 เหรียญ/บาเรล พอเข้าสู่ภาวะสงครามราคาปรับตัวสูงขึ้นถึง 140 เหรียญ/บาเรล ทั่วโลกและไทยเองเกิดสภาวะผันผวนเพราะรัสเซียเป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายที่ 2 ของโลก การส่งออกมีถึง 4.5 ล้านบาเรล/วัน เมื่อส่วนนี้หายไป โลกมีความต้องการ 100 ล้านบาเรล/วัน หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่โลกจะกระทบ ปตท.เองเป็นผู้ทำหน้าที่สร้างความความมั่นคง

ระหว่างนี้ 3-6 เดือน ยังมองว่าราคาน้ำมันยังอยู่ 95-110 เหรียญ/บาเรลในปีนี้ หากสถานการณ์คลี่คลายเจรจาได้ราคาอาจจะปรับลดลงแต่โลกยังเจอสงครามเศรษฐกิจ อัตราการว่างงาน อัตราเงินเฟ้อ ซึ่งปตท.และกระทรวงพลังงานมีมาตรการออกมาช่วยเหลือประชาชนต่อเนื่อง

ทั้งนี้จากการลงนามด้านสิ่งแวดล้อมในการลดคาร์บอน Cop26 จะส่งผลให้แต่ละประเทศปรับนโยบายด้านพลังงานหรือไม่นั้น มองว่า นโยบายคือนโยบาย ซึ่งกรณีของถ่านหินจะพบว่าปรับตัวสูงขึ้นถึง 4 เท่า และอะไรก็ตามที่เป็นเชื้อเพลิงราคาถูก ทุกประเทศก็จะพยายามเข้าไปจัดหามากขึ้น เพื่อลดค่าครองชีพประชาชน โดยไม่สนใจว่าเมื่อราคาน้ำมันจะสูง แต่เพื่อดูแลค่าครองชีพประชาชนทำให้หลายประเทศไม่พึ่งพาแค่รัสเซีย

ส่วนคำถามที่ว่า ไทยจะสามารถลดค่าการกลั่นสัก 1 ปี หรืออกฎหมาย พรก.ฉุกเฉินด้านพลังงานเพื่อความมั่นคงด้านพลังงานได้หรือไม่ มองในนามชมรมชาววิทยาการพลังงาน (ชวพน.) ว่า เราทุกคนต้องช่วยกัน ทั้งรัฐเอกชน ประชาชน

เนื่องจากเราเป็นตลาดเสรี ให้กลุ่มโรงกลั่นปรับเอง100% คงเหนื่อย ประชาชนต้องสามารถช่วยได้ เริ่มแรกที่ควรทำคือประหยัด เพราะอาจจะอยู่ในวิกฤตนี้ไปอีก 3-6 เดือน หากค่าการกลั่นสูงจาก ภายใต้สมมติฐานกรอบราคาน้ำมันดิบ 102-120 เหรียญ/บาเรล เรายังไม่ได้รวมน้ำมันพรีเมียม อาจจะต้องมีการลดทอนค่าการกลั่นออกบ้าง อย่างไรก็ดี ส่วนตัวซึ่งยินดีที่จะศึกษาเรื่องนี้

หมายความว่า สามารถเเข่งขันได้ทันที อยากจะให้ช่วยกันคิดว่าโรงกลั่นจะทำอย่างไรในเมื่อเป็นตลาดเสรี ทุกคนสามารถนำเข้ามาแข่งขันกันได้ ถามว่าไม่ใช้ราคาสิงคโปร์ได้ไหม ตรงนี้ก็เป็นต้นทุนที่เอกชนมาหารือกัน แต่ถ้าเป็นต้นทุนรัฐก็ทำได้ ทั้งหมดก็สามารถทำได้ภายใต้การหารือทุกฝ่าย”

ส่วนมองราคาน้ำมัน กรณีเลวร้ายสุด ที่มองไว้ในเรื่องของราคาน้ำมันที่สวิงอยู่ที่ 140-150 เหรียญ/บาเรล เป็นไปได้ แต่ผมมองว่า ปีนี้ ปัจจัยที่ยังต้องดูซัพพลายที่ยังไม่ได้พูดถึง คือ อิหร่าน ซึ่งเป็นผู้รายใหญ่ หากคุยกันแล้วทุกคนก็คงต้องช่วยร่วมกัน หากให้อิหร่าน ส่งออกได้ก็สามารถบรรเทาได้

อีกประเทศที่ถูกแซงชั่นคือเวเนซุเอลาต้องมาดูว่าทิศทางนโยบายพี่ใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกาจะมีท่าที่ประณีประนอมอย่างไร ไม่อยากให้มองเลวร้ายมากจนเกินไป อยากให้มองที่ราคาจะลดลงมาบ้าง แต่หากจะมองเลวร้ายเกิดได้ แต่คงไม่ได้ยืนราคานี้ตลอดปี

ที่มา : https://www.prachachat.net/economy/news-895838