
จากมาตรการ CDM ถึง BCA เพื่อลดโลกร้อน แต่เพิ่มอุปสรรคให้การค้าระหว่างประเทศ (ตอนที่ 1)
- กลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean
Development Mechanism : CDM) ภายใต้ข้อตกลงพิธีสารโตเกียว
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
(Climate Change) หรือภาวะโลกร้อน (Global Warming) นับว่าเป็นหนึ่งในความท้าทายและการเปลี่ยนแปลงรูปใหม่ของโลก
รวมทั้งเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของชาติในเชิงมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
จากสภาพปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกที่ยังคงร้ายแรงขึ้นทุกวัน แม้ว่าในระยะที่ผ่านมาหลายประเทศได้พยายามสร้างความร่วมมือ
และมีข้อตกลงเพื่อควบคุมปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้อยู่ระดับควบคุมได้
ตัวอย่างที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมได้แก่ ความร่วมมือข้อตกลงพิธีสารเกียวโต (Kyoto
Protocol) ซึ่งได้ระบุให้กลุ่มประเทศพัฒนาแล้วตามภาคผนวกที่ 1
มีพันธกรณีในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากปีฐาน ค.ศ. 1990 ให้ได้ภายในปี ค.ศ. 2012 ทั้งนี้ในพิธีสารเกียวโต
อนุญาตให้ประเทศที่พัฒนาแล้ว (ภาคผนวกที่ 1)
สามารถใช้เครื่องมือที่เรียกว่า “กลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development
Mechanism : CDM) ที่อนุญาตให้ประเทศในภาคผนวกที่ 1 สามารถดำเนินโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศนอกกลุ่มภาคผนวกที่ 1
ได้
และนำมาใช้ในการลดการปล่อยก๊าซในประเทศตนได้ ซึ่งคาดหวังว่า CDM จะเป็นกลไกที่ทำให้ต้นทุนในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำลงอยู่ระดับที่พอรับได้
และเป็นเครื่องมือในการส่งต่อ และถ่ายทอดเทคโนโลยีจากประเทศที่พัฒนาแล้ว
ไปสู่ประเทศกำลังพัฒนา
อนึ่ง
มาตรการกลไกการพัฒนาที่สะอาด(CDM) ได้สิ้นสุดลงเมื่อ ค.ศ.2012
แต่ปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกก็ยังไม่บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
จึงได้มีความพยายามที่จะดำเนินการเจรจาร่วมกันเกี่ยวกับแนวทางการจัดการปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก
และการจัดสรรพันธกรณีระหว่างประเทศในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจากแทนพิธีสารเกียวโตที่ได้สิ้นสุดลงไปแล้ว
- มาตการการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (Border
Carbon Adjustment : BCA)
จากมาตรการ CDM ที่กล่าวมาแล้ว ประเทศที่พัฒนาแล้ว
(ประเทศในกลุ่มภาคผนวกที่ 1) ต้องมีมาตรการที่เข้มงวดในการจัดการลดก๊าซเรือนกระจกของตน
ทำให้มีต้นทุนสินค้าที่เพิ่มขึ้น และเริ่มตระหนักว่าอุตสาหกรรมของประเทศตนเองสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน
จึงมีความพยายามที่จะเชื่อมโยงการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับการค้าระหว่างประเทศ
ดังนั้น ประเทศที่พัฒนาแล้ว ได้แก่ สหรัฐอเมริการ สหภาพยุโรป (EU) และญี่ปุ่น เป็นต้น พยายามออกที่จะคิดค้นมามาตรการใหม่ขึ้นมาที่เรียกว่ามาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน
(Border Carbon Adjustment : BCA) ซึ่งเป็นมาตรการที่พยายายามจะลดความได้เปรียบของสินค้านำเข้าจากประเทศที่กำลังพัฒนาที่มีข้อบังคับเกี่ยวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่าสินค้าที่ผลิตในประเทศของตน
ทั้งนี้มาตรการอาจจะอยู่ในรูปแบบการเก็บภาษีนำเข้า
หรือการบังคับใช้มาตรฐานการผลิตบางประการแก่ประเทศคู่ค้าได้ เช่น
กำหนดให้ประเทศผู้ส่งออกต้องซื้อคาร์บอนเครดิต
เพื่อชดเชยความต้องการการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในขบวนการผลิตซึ่งตนเองปล่อยในอัตรามากกว่าประเทศที่นำเข้า
อย่างไรก็ตาม
ยังมีความคิดเห็นที่ขัดแย้ง ระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนา
โดยประเทศที่พัฒนาแล้วเห็นว่ามาตรการ BCA เป็นมาตรการที่ดี เป็นการลดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าที่นำเข้าจากประเทศกำลังพัฒนาที่มีข้อกำหนดในการปล่อยก๊าซคาร์บอนน้อยกว่าประเทศของตน
รวมทั้งยังเป็นเครื่องมือในการควบคุมปัญหาการั่วไหล หรือการย้ายฐานการผลิต (Carbon
Leakage and Offshoring) และยังเป็นการบังคับให้ประเทศกำลังพัฒนามีส่วนร่วมรับผิดชอบในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อีกด้วย
ในทางตรงกันข้ามประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการบังคับใช้มาตรการ BCA
เนื่องจากเห็นว่าเป็นการใช้เครื่องมือทางด้านสิ่งแวดล้อมมากีดกันทางการค้า
และเป็นการผลักภาระความรับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนของประเทศพัฒนาแล้ว
มาให้กับประเทศกำลังพัฒนา โดยมองข้ามหลักการความรับผิดชอบร่วมกันในระดับที่แตกต่างกัน
(Common but Differentiated Responsibilities) ตามที่ได้ตกลงกันไว้แต่แรก
อย่างไรก็ตาม
ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้พยายามเอามาตรการ BCA มาใช้ให้ได้
โดยในปี ค.ศ. 2009 ผู้แทนทางสหรัฐอเมริกา ได้ผ่านร่างกฎหมาย The
American Clean Energy and Security Act.2009) โดยจะบังคับใช้ BCA
กับสาขาการผลิตบางชนิด ซึ่งประเทศกำลังพัฒนา
รวมถึงประเทศไทยด้วยย่อมได้รับผลกระทบโดยตรงต่อมาตรการดังกล่าว