ตอบคำถาม....ค่าความพร้อมจ่ายโรงไฟฟ้าเอกชนเราเสียค่าโง่จริงหรือไม่??

ตอบคำถาม....ค่าความพร้อมจ่ายโรงไฟฟ้าเอกชนเราเสียค่าโง่จริงหรือไม่??

วันนี้ขอพูดเรื่องค่าไฟฟ้าแพงอีกครั้งหนึ่ง โดยจะเจาะความจริงเรื่องค่าความพร้อมจ่าย (Available Payment : AP ( ค่าเอพี)) หรือบางคนเรียกว่าไม่ต้องเดินเครื่องก็ต้องจ่ายนั้น  ค่าเอพีที่เกิดจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)  และค่าเอพีของโรงไฟฟ้าเอกชน (IPP) มันต่างกันอย่างไร 
.
ก่อนที่จะพูดว่าค่าเอพีต้องจ่ายหรือไม่ เรามาดูว่าต้นทุนค่าไฟฟ้าต่อหน่วย ซึ่งอยู่ที่ 4.72 บาทต่อหน่วยในปัจจุบันนั้นประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้แก่
1. ค่าก่อสร้างโรงไฟฟ้า (ทั้งของ กฟผ. และIPP) อยู่ที่ 0.80 บาทต่อหน่วย คิดเป็น 17.0%
2. ค่าระบบสายส่งของ กฟผ. 0.25 บาทต่อหน่วย คิดเป็น 5.3 %
3. ค่าระบบสายจำหน่ายของ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) 0.55 บาทต่อหน่วย คิดเป็น 11.7%
4. ค่าเชื้อเพลิง 3.12. บาทต่อหน่วย คิดเป็น 66.0 % 
.
ทั้งนี้ต้นทุนดังกล่าวข้างต้นใช้มาตั้งแต่ปลายปี 2558 โดย ข้อ1. มีการปรับขึ้นเล็กน้อย ส่วนข้อ 2. และข้อ 3. คงที่มาตลอด แต่ที่ต้องพิจารณาคือ ข้อ 4. ค่าเชื้อเพลิงมีการปรับตัวสูงขึ้นมาตลอด โดยเฉพาะตั้งแต่ต้นปี 2565 เป็นต้นมา ทำให้ต้นทุนไฟฟ้ารวมต่อหน่วยเพิ่มจาก 3.75 บาทต่อหน่วยในปลายปี 2558 มาเป็น 4.72 บาทต่อหน่วยในปัจจุบัน ซึ่งพอสรุปได้ว่าในปีนี้ที่ค่าไฟฟ้าปรับตัวสูงขึ้นมาจากสาเหตุค่าเชื้อเพลิงโดยเฉพาะการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) จากตลาดจร หรือ Spot LNG มาดแทนก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย และเมียนมาร์ที่ลดลงไป
.
มีคำถามต่อไปว่าค่าก่อสร้างโรงไฟฟ้าหรือค่าเอพีที่ระดับ 80 สตางค์ต่อหน่วยนั้นแพงหรือไม่ ค่าเอพีของโรงไฟฟ้า IPP กับค่าเอพีของ กฟผ. นั้นใครถูก หรือใครแพงกว่าใคร 
.
หลักกการในการพิจารณาอนุมัติให้ กฟผ. ลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้านั้น กำหนดให้ค่าก่อสร้างของ กฟผ. จะต้องไม่แพงกว่าโรงไฟฟ้าของ IPP ซึ่งมีการลงทุนในการช่วงเวลาเดียวกัน จึงอนุมานได้ว่าค่าก่อสร้างเท่ากัน และโรงไฟฟ้าเป็นเหมือนโครงสร้างพื้นฐาน ที่เมื่อต้องการใช้โรงไฟฟ้านั้นต้องใช้ได้ตลอดเวลา
.
ในขณะนี้ประเทศไทยมีโรงไฟฟ้าเกินกว่าความต้องการถึง 50% ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ที่ไม่เกิน 15% อย่างไรก็ตามการที่จะพิจารณาว่ามีโรงไฟฟ้าที่สูงถึง 50% จะต้องพิจารณาดูให้ดีเพราะโรงไฟฟ้ามีหลายประเภท โรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่นโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ โรงไฟฟ้าถ่านหิน มีเชื้อเพลิงตลอดเวลาพึ่งพิงได้ตลอดเวลา ส่วนโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน เช่น กังหันลม และแสงอาทิตย์ (โซลาร์) พึ่งพิงไม่ได้ตลอดเวลา แล้วแต่ว่ามีลม หรือแสงแดดในตอนไหน ส่วนโรงไฟฟ้ากลุ่มชีวภาพเช่น โรงไฟฟ้าชีวมวล หรือโรงไฟฟ้าชีวภาพ เช่นเดียวกัน มีความไม่แน่นอนสั่งเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าไม่ได้ตลอดเวลา ดังนั้นต้องดูว่าโรงไฟฟ้าส่วนเกิน 50% นั้นเป็นโรงไฟฟ้าประเภทใดบ้าง พึ่งพิงได้ตลอดเวลาคงไม่ถึง 50%  
.
ส่วนค่าเอพีที่ต้องจ่ายทั้งที่เป็นของ กฟผ. และของ IPP นั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร กรณีของ กฟผ. ต้องมีเงินลงทุนในช่วงก่อสร้าง 2-3 ปี กู้เงินมาลงทุนต้องเสีย ค่าดอกเบี้ย ถ้าเป็นของ IPP มาสร้างแทนเรา เราทยอยจ่ายรายปีตลอดอายุโรงไฟฟ้า 25 ปี ซึ่งน่าจะดีกว่าลงทุนครั้งเดียวซึ่งต้องจ่ายดอกเบี้ย และมีข้อดีอีกว่าถ้าโรงไฟฟ้าของเอกชนไม่พร้อม และอยู่ระหว่างซ่อมเราก็ไม่จ่ายค่าเอพีให้ ดังนั้นการส่งเสริมให้เอกชนมาลงทุน จะต้องให้มีการแข่งขันกันจะได้ไม่แพง และถ้าจะให้ค่าเอพีไม่สูงเกินไป คนที่ทำหน้าที่วางแผนจะต้องศึกษาและวางแผนให้ดีไม่ให้มีการลงทุนเกินไป
.
กล่าวโดยสรุป ค่าเอพีที่เท่ากับ 0.80 บาทต่อหน่วยหรือ 11.7% ของต้นทุนไฟฟ้าทั้งหมด ไม่ได้เป็นต้นเหตุค่าไฟแพงในปี 2565  สาเหตุที่แท้จริงมาจากค่าเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติที่ต้องนำเข้าในรูป Spot LNG และค่าเอพีที่ต้องจ่ายให้ IPP ที่กล่าวกันว่า “เป็นค่าโง่ไม่ต้องเดินเครื่องก็ต้องจ่าย” แท้จริงแล้วค่าเอพีจาก กฟผ. หรือ IPP ไม่ได้มีความแตกต่างกัน ภาคเอกชนหากไม่มีความพร้อมก็ไม่ต้องจ่าย แต่เป็นจาก กฟผ. ก็ต้องจ่ายเพราะมันอยู่ในค่าไฟฟ้าฐานแล้ว


ที่มา :: Facebook Page Moremove  https://www.facebook.com/moremovemag/posts/6000689233276671